การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ในการส่งเสริมความสามารถการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู

Main Article Content

ธัญญาพร ก่องขันธ์

บทคัดย่อ

การส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นของนักศึกษาวิชาชีพครู ควรต้องมีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงเป็นการวิจัยและพัฒนาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู และ 2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนชุมชนเป็นฐาน ก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง นักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 2) แบบประเมินความเหมาะสมของร่างรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 3) แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 4) แบบวัดความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test แบบ Dependent Samples ผลการวิจัย 1. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาหลักสูตร สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูพบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นหลังเรียนของผู้เรียน สูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลดังกล่าวสามารถอธิบายได้ว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ได้พัฒนาขึ้นโดยอาศัยหลักการที่สำคัญ คือ การเรียนรู้เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่จากประสบการณ์เดิม การเรียนรู้เป็นกระบวนการกำกับตนเองและเป็นกระบวนการทางสังคม การใช้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้และสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ตรงนั้นมีความเหมาะสมในการส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นของนักศึกษาวิชาชีพครู

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Champa, S. (2016). The development of instructional model of local history by historical learning sources for supporting historical thinking process. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 1158-1171. (in Thai)

Cobb, P. (1994). Constructivism in mathematics and science education. Education Researcher, 23(7), 13-20.

Flecky, K. (2011). Foundations of service learning. Jones and Bartlett. [Online]. Retrieved January 11, 2019,

from: http://samples.jbpub.com/9780763759582/59582_CH01_ FINAL.pdf

Janjamsai, M. (2015). Experiential modeling of community-based learning: case study of integration of architectural design learning and low-income housing development: Phranakhon Rajabhat Research Journal, 10(1), 143-156. (in Thai)

Joyce, B.R. & Weil, M. (1996). Model of teaching (5th ed.). New York: Prentice Hall.

Kammanee, T. (2013). Science of teaching pedagogy: knowledge for effective learning management (17th ed.) Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Netwong, T. (2020). The using resource-based learning of local wisdom to effectiveness local wisdom knowledge management by ICT of students in information technology. Journal of Yala Rajabhat University, 15(1), 40-47. (in Thai)

Onkham, U., Orakun, U., & Ubonlert, W. (2018). The development of community-based learning management model to strengthen local professional skills of the students at opportunity expansion schools under yasothon educational service area office. Journal of Research and Development Institute, Rajabhat Maha Sarakham University, 5(2), 279-288. (in Thai)

Rittikoop, W. (2018). Community-based learning: effective pedagogy strategies for teachers in 21st century. Graduate School Journal Chiang Rai Rajabhat University. 11(3), 179-191. (in Thai)

Sutthirat, C. (2016). The development of Curriculum : theory to practice (5th ed.). Bangkok: vprint. (in Thai)

The Committee of Curriculum and Instruction Department, Faculty of Education, Rajabhat Pibulsongkram University. (2019). Student achievement verification report in the academic year 2019. Phitsanulok: Pibulsongkram Rajabhat University. (in Thai)

The Higher Education Internal Quality Assurance Committee of Rajabhat University. (2019). The handbook of higher education internal quality assurance of rajabhat university. Chandrakasem Rajabhat University: K.P. Chandrakasem. (in Thai)

The Office of the National Economic and Social Development Board. (2017). The national economic and social development plans, B.E. 2560-2564 [Online]. Retrieved January 11, 2019, from: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422. (in Thai)

Wangkaewhiran, T., Onkasem, P., Sethakhomkul, S., Chanajeenasak, P., Athipanchapong, T., Poolsawas, K., et al. (2018). The development of a learning package for innovations and local wisdom for the grade 6 students through participative learning process and metacognitive experiences integrated with community-based learning at sao changok sub-district. Journal of Education Thaksin University, 18(2), 18-29. (in Thai)