ทัศนคติที่มีต่อสิ่งกีดขวางการตัดสินใจเข้าถึงธุรกรรมการเงินผ่านระบบออนไลน์ของสถาบันการเงินในยุค 4.0
Main Article Content
บทคัดย่อ
การทำธุรกรรมการเงินผ่านระบบออนไลน์ของสถาบันการเงินมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ขณะที่ประชากรไทยอีกจำนวนหนึ่งตัดสินใจไม่ทำธุรกรรมการเงินในรูปแบบดังกล่าว บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อสิ่งกีดขวางการตัดสินใจเข้าถึงธุรกรรมการเงินผ่านระบบออนไลน์ของสถาบันการเงิน และเปรียบเทียบทัศนคติที่มีต่อสิ่งกีดขวางการตัดสินใจเข้าถึงธุรกรรมการเงินในรูปแบบดังกล่าวของตัวอย่างที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์แตกต่างกัน โดยตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ที่อาศัยในจังหวัดเชียงใหม่และตัดสินใจไม่ทำธุรกรรมการเงินในรูปแบบออนไลน์ 400 ราย ที่ถูกเลือกด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลจากการศึกษาพบว่า ในภาพรวมตัวอย่างมีทัศนคติว่าบริบททางสังคมและวัฒนธรรมเป็นสิ่งกีดขวางการตัดสินใจเข้าถึงธุรกรรมการเงินผ่านระบบออนไลน์ของสถาบันการเงินในระดับปานกลาง ขณะที่ตัวอย่างที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์แตกต่างกัน มีค่าเฉลี่ยของระดับทัศนคติต่อสิ่งกีดขวางแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยตัวอย่างที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป มีระดับการศึกษาต่ำกว่ามัธยมปลาย เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท เป็นกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยของระดับทัศนคติต่อสิ่งกีดขวางการตัดสินใจเข้าถึงธุรกรรมการเงินในรูปแบบออนไลน์แตกต่างจากกลุ่มตัวอย่างอื่น ๆ บางกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งจำเป็นต้องเพิ่มเติมความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการทำธุรกิจการเงินผ่านระบบออนไลน์ให้กับกลุ่มนี้เพื่อให้หันมาตัดสินใจเข้าถึงธุรกรรมการเงินในรูปแบบออนไลน์มากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
Bank of Thailand. (2018). Payment transaction [Online]. Retrieved March 21, 2022, from: https://www.bot.or.th/Thai/Statistics/PaymentSystems/Pages/StatPaymentTransactions.aspx. (in Thai)
Best, J. (1977). Research in education. New Jersey: Prentice Hall, Inc.
Cochran, W. G. (1953). Sampling techniques. New York: John Wiley & Sons. Inc.
Kasikornbank. (2021). Saving account [Online]. Retrieved April 2, 2022, from: https://kasikornbank.com/th/personal/Account. (in Thai)
Kosolkittiamporn, S. (2020). Assumption test of one-way analysis of variance in social science research. Journal of Yala Rajabhat University, 15(1), 117-124. (in Thai)
Kotler, P. (1997). Marketing management: analysis, planning, implement (9th ed.). New Jersey: McGraw-Hill, Inc.
Nuneam, J. & Jitnomrat, T. (2018). Personal factor that affect the transaction via K-Mobile Banking Plus application of Kasikornbank in Bangkok. Journal of Graduate Studies, 7(2), 33-42. (in Thai)
Parinyavuttichai, N. (2017). The nature of risks from socio-cultural perspectives: A case study of an information systems project in a Thai context. Journal of Rajanagarindra University, 14(32), 109-119. (in Thai)
Penglawan, K. & Jariangprasert, N. (2019). Factors influencing internet banking customers towards commercial bank prompt pay system. Journal of Business, Economics and Communications, 14(2), 153-164. (in Thai)
Rotchanakitumnuai, R. (2019). Mobile banking acceptance for continuing usage of Thai commercial banks. Journal of Business Administration The Association of Private Higher Education Institutions of Thailand, 8(2), 10-21. (in Thai)
Sukpopet, C. (2015). Factors affecting the consumer's decision making to choose all star driving range golf complex. Master’s Thesis. Silapakorn University. (in Thai)
Tunsuparp, S. (2020). Effect of user characteristics and internet using behavior on the adoption of internet banking. Journal of the Association of Researchers, 25(3), 350-369. (in Thai)
Udomvechsakul, S. (2014). Factor affecting confidence in utilize M-banking application. Independent studies. Bangkok: Thammasat University. (in Thai)