การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ผลิตข้าวซ้อมมือ บ้านโคกอิฐ-โคกใน จังหวัดนราธิวาส

Main Article Content

จามจุรี จุลพูล
ยุพวดี ศรีสุวรรณ
ประภัสสร หะยะมิน
ณฤทธิ์ ไทยบุรี
รัชยา ศิริพันธุ์

บทคัดย่อ

การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดการวิสาหกิจชุมชน เป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้เศรษฐกิจฐานรากเข้มแข็ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรผลิตข้าวซ้อมมือบ้านโคกอิฐ-โคกใน จังหวัดนราธิวาส แนวทางส่งเสริมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการวิสาหกิจชุมชน และการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการวิสาหกิจชุมชน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ประธานกลุ่ม เลขานุการ เหรัญญิก สมาชิกกลุ่ม ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัด นักวิชาการ ผู้รับซื้อและผู้บริโภคสินค้าทั้งหมด 20 คน เลือกแบบจำเพาะเจาะจงผู้ที่มีประสบการณ์สามารถเป็นตัวแทนได้ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์แบบบันทึก การสังเกต และแบบสอบถามประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาและการดำเนินงาน ได้แก่ บุคลากร การเงิน วัสดุอุปกรณ์ และการจัดการ แนวทางการส่งเสริมกลุ่มด้านบุคลากรต้องจัดให้มีการอบรมสัมมนา ศึกษาดูงาน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินงาน ด้านการเงินต้องรับการพัฒนาความรู้และทักษะการทำบัญชี ด้านวัสดุอุปกรณ์เน้นวัตถุดิบจากสมาชิกกลุ่มเป็นหลัก ด้านการจัดการต้องวางแผนและกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ผลการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ 1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มให้ได้รับการอบรมเพิ่มพูนความรู้และมีทักษะวิชาชีพที่ดี 2) สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการทำบัญชีมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการด้านการเงินตามแผนที่วางไว้ 3) วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมาจากครัวเรือนสมาชิกที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และ 4) การบริหารจัดการกลุ่มเป็นระบบด้วยการวางแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Baedcharoen, I., Aksorntap, A. & Jatuprayoon, C. (2022). Success factors of managing the Gold Color Longan Flesh Processing Community Enterprise Management in Ban Thi sub-district, Ban Thi, Lamphun province. Payap University Journal, 32(2), 82-98. (in Thai)

Boonniyom, P. & Sathirad, K. (2019). Development and promotion of community enterprise potential to the creative economy in accordance with sufficiency economy philosophy in Kamphaeng Phet, Phichit, and Sukhothai. Journal of Mani Chettha Ram Wat Chommani, 2(1), 34-45. (in Thai)

Chantavanich, S. (2022). Analysis in qualitative research (9th Ed.). Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

Community Enterprise Register and Information Group. (2023). Community Enterprise Information Report Community Enterprise Promotion Division [Online]. Retrieved April 20, 2013, from: https://smce.doae.go.th/ProductCategory/ SmceCategory. (in Thai)

Hunnak, C., Montriwat, P. & Katekao, V. (2020). Guidelines for community enterprise management: A case study of agricultural demonstration center of community shop at Tha Sao sub district, Sai Yok district, Kanchanaburi province. Journal of Thai Ombudsman, 13(2), 21-53. (in Thai)

Keawkhankrai, T. (2017). Survive the economic crisis by implementing community enterprise. Academic Journal of Buriram Rajabhat University, 9(2), 33-50. (in Thai)

Ma-ae, K., Devata, A. & Aphithawinvasu, N. (2017). Community business management based on sufficiency economy philosophy according to the royal Initiative: A case study of One Tambon One Product, Mae Tha district, Lamphun province. Journal of Management and Marketing, 4(2), 143-157. (in Thai)

Mongkolkajornkitti, I. & Apinontteerasakda, A. (2019). The development a potential and production system of network community enterprise for organic way of Chaiyaphum. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 6(2), 169-181. (in Thai)

Nithichaianan, N. & Chidchob, T. (2021). The guidance to develop capabilities and competitiveness of community businesses to support community economies toward stability and sustainability: A case study of community businesses in Kap Choeng district, Surin province. Research and Development Journal Loei Rajabhat University, 17(59), 84-92. (in Thai)

Tangrujikul, T. & Kaisanti, K. (2017). Potential development of community enterprise Baan-Lansai women farm group, Namom district, Songkhla province. The 8th Hatyai National and International Conference, June 22, 2017. Songkhla: Hatyai University. (in Thai)

Wisupee, W. (2017). Local community roles and driving towards Thailand model 4.0. Bangkok: Learning Institute For Everyone. (in Thai)