การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่นชุดลำลองด้วยเทคนิคการสร้างลวดลายด้วยวิธีการมัดย้อม

Main Article Content

สุระจิตร แก่นพิมพ์

บทคัดย่อ




     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาพัฒนาเทคนิคในการสร้างลวดลายบนผืนผ้า (๒) เพื่อส่งเสริมการผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าไทยในท้องถิ่น (๓) เพื่อสร้างสรรค์ต้นแบบประเภทแฟชั่นชุดลำลอง (๔) เพื่อสร้างสรรค์ต้นแบบประเภทผลิตภัณฑ์แฟชั่นชุดลำลองด้วยวิธีการมัดย้อม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ วิจัยคือนักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี จำนวน ๓๐ คน ในปีการศึกษา ๒๕๖๒ โดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบ ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย สถิติที่ใช้ในการ วิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์เพื่อศึกษาเรื่อง การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่นชุดลำลองด้วยเทคนิคการสร้างลวดลายด้วยวิธีการมัดย้อมศึกษา เฉพาะลวดลายเทคนิคลวดลายบนผืนผ้าของผลิตภัณฑ์ชุดลำลองแฟชั่น ชาย ๑ ชุดหญิง ๒ ชุด การสร้างสรรค์เป็นเทคนิคการสร้างลวดลายที่นิยมและสร้างลวดลายบนชุดลำลองชาย-หญิงโดยการ มัดย้อมด้วยสีสังเคราะห์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์สอดแทรกเทคนิควิธี มัดย้อมทำให้ผลิตภัณฑ์มีความสวยงามแปลกตาน่าสนใจเป็นที่ต้องการของตลาด และความพึงพอใจของ นักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยท่ีมีต่อการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่น ชุดลำลองด้วยเทคนิคการสร้างลวดลายด้วยวิธีการมัดย้อม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๙




Article Details

How to Cite
แก่นพิมพ์ ส. “การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่นชุดลำลองด้วยเทคนิคการสร้างลวดลายด้วยวิธีการมัดย้อม”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปี 8, ฉบับที่ 3, ธันวาคม 2021, น. 130-4, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/249125.
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. ผ้ามัดย้อม. กรุงเทพมหานคร : รำไทยเพรส, ๒๕๔๔.

กีรติญา สอนเนย. การวาดภาพแฟชั่นและการออกแบบเสื่อผ้า. กรุงเทพมหานคร : มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค, ๒๕๕๔.

คลฑรรน์รัตน์ ดิษบรรจง พระสุทธิสารเมธี บุญร่วม คำเมืองแสน และกฤษฎา ดิษบรรจง. “ปรัชญาชีวิตที่ปรากฏผ่านอัตลักษณ์บนลวดลายผ้าทอของกลุ่มชนชาติพันธุ์ไทยทรงดำ”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๓ (กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๓) : ๑๑๒-๑๑๔.

คะนึง จันศิริ. มัดย้อม. กรุงเทพมหานคร : พริ้นติ้งเฮ้าส์, ๒๕๔๔.

เจียมจิตร เผือกศรี. การออกแบบเสื้อ ๑. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, ๒๕๕๐.

ชูศักดิ์ ไทยพาณิชย์. การออกแบบลวดลาย. กรุงเทพมหานคร : วาดศิลป์, ๒๕๕๖.

ทำนอง จันทิมา. การออกแบบ. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๓๗.

นฤมล ปิ่นวิศุทธิ์. สร้างสรรค์งานศิลปะบนผืนผ้า. กรุงเทพมหานคร : พริ้นติ้งเฮ้าส์, ๒๕๕๕.

นวลน้อย บุญวงค์. หลักการออกแบบ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๒.

พวงผกา คุโรวาท. คู่มือประวัติเครื่องแต่งกาย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อักษรพิทยา, ๒๕๓๐.

วิรุณ ตั้งเจริญ. การออกแบบ. กรุงเทพมหานคร : พริ้นติ้งเฮ้าส์, ๒๕๕๖.

ศศธร ศรีทอง. มัดย้อม. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ดี, ๒๕๕๖.

สถาบันพัฒนาอุสาหกรรมสิ่งทอ. รายงานผลการสำรวจทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคต่อเสื้อผ้าทำงาน. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงอุสาหกรรม, ๒๕๕๐.

อัจฉราพร ไศละสุต. การออกแบบลายผ้าและเทคนิคการพิมพ์. กรุงเทพมหานคร : สหประชาพาณิชย์, ๒๕๒๖.

อารยะ ไทยเที่ยง. การมัดย้อม. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๖.

อ้อยทิพย์ พลศรี. การออกแบบลวดลาย. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๕.