การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิก เรื่อง เกณฑ์การเสนอผลงานของบุคลากรในการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น สำหรับบุคลากรสายปฏิบัติการวิชาชีพ ระดับชำนาญการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Main Article Content

นภัสสร กัลปนาท
นฤมล เทพนวล

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) พัฒนาสื่อโมชันกราฟิก เรื่องเกณฑ์การเสนอผลงานของบุคลากรในการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น สำหรับบุคลากรสายปฏิบัติการวิชาชีพ ในระดับชำนาญการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยให้มีคุณภาพ (๒) เปรียบเทียบระดับความรู้และความเข้าใจระหว่างก่อนเรียน – หลังเรียน ด้วยสื่อโมชันกราฟิก และ (๓) ศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อสื่อโมชันกราฟิก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรตำแหน่งปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ส่วนกลาง (วังน้อย) ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยวิธีจับสลากเลือกตัวแทนจากบุคลากรสายปฏิบัติการวิชาชีพทั้งหมด จำนวน ๓๐ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย สื่อโมชันกราฟิก แบบประเมินคุณภาพด้านสื่อและด้านเนื้อหา แบบทดสอบเพื่อวัดระดับความรู้และความเข้าใจ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระจากกัน


     ผลการวิจัยพบว่า (๑) สื่อโมชันกราฟิกมีคุณภาพด้านสื่ออยู่ในระดับดี  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๕ และมีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๒ (๒) บุคลากรมีระดับความรู้และความเข้าใจหลังเรียนด้วยสื่อโมชันกราฟิกสูงกว่าก่อนเรียน มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๒๓.๗๐/๘.๗๐ การทดสอบค่าทีหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ และ (๓) บุคลากรมีความพึงพอใจต่อสื่อโมชันกราฟิก อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๒

Article Details

How to Cite
กัลปนาท น., และ เทพนวล น. “การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิก เรื่อง เกณฑ์การเสนอผลงานของบุคลากรในการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น สำหรับบุคลากรสายปฏิบัติการวิชาชีพ ระดับชำนาญการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปี 8, ฉบับที่ 3, ธันวาคม 2021, น. 385-98, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/252514.
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระยะ พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๖๓ ของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, ๒๕๕๘.

ทักษิณา สุขพัทธี และทรงศรี สรณสถาพร. “การศึกษาแนวทางออกแบบโมชั่นกราฟิกที่ส่งเสริม ความสามารถในการเรียนรู้”. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ ๑๒ ฉบับที่ ๑ (มกราคม - เมษายน ๒๕๖๐): ๒๖๑-๒๖๘.

ธวัชชัย สหพงษ์. “การพัฒนาโมชันกราฟิก เรื่อง คอนแทคเลนส์”. วารสารโครงงานวิทยาการ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑ (มกราคม - มิถุนายน ๒๕๖๑) : ๙-๑๕.

ภาสวัฒน์ เนตรสุวรรณ และจิรพันธุ์ ศรีสมพันธุ์. “การพัฒนาสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่องพื้นฐานคอมพิวเตอร์กราฟิก สําหรับหลักสูตรฝึกอบรมของบริษัททีสแควร์ครีเอทีฟจํากัด”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ๒๕๕๗.

มาริสา เด่นอุดม. “การพัฒนาสื่อการสอนโมชันกราฟิกร่วมกับการใช้เทคนิคผังมโนทัศน์ล่วงหน้าเพื่อส่งเสริมความรู้ จิตวิทยาการศึกษา สำหรับครูช่างระดับชั้นปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี”. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยรามคำแหง. ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑ (มกราคม - มิถุนายน ๒๕๖๓) : ๑๓-๓๐.

มหาวิยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ประวัติและพัฒนาการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : ๒๑ เซ็นจูรี่, ๒๕๕๘.

เวชยันต์ ปั่นธรรม. “การผลิตสื่อโมชันกราฟิกเรื่องระบบเสียงรอบทิศทาง ๗.๑ ชาแนล”. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ๒๕๖๐.

สุโรทัย แสนจันทรแดง และธวัชชัย สหพงษ์. “การพัฒนาโมชันกราฟิกเรื่องการเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ ๕”. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ ๒ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ๒๕๕๙.