การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเปอรานากันในเขตพื้นที่เมืองเก่าตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

Main Article Content

ธนะวิทย์ เพียรดี

บทคัดย่อ

            บทความวิชาการเรื่อง การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเปอรานากันในเขตพื้นที่เมืองเก่าตะกั่วป่า จังหวัดพังงา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมเปอรานากันและศึกษาศักยภาพทางการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เมืองเก่าตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เพื่อพัฒนาการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเปอรานากันในเขตพื้นที่เมืองเก่าตะกั่วป่า จังหวัดพังงา โดยการศึกษาทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษา คือ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยมีขั้นตอน ดังนี้ คือ 1. ทบทวนวรรณกรรมและรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมเปอรานากัน 2. ศึกษาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเปอรานากันจากเอกสารทุติยภูมิ 3. สำรวจร่วมกับการสังเกตแบบไม่เป็นทางการเกี่ยวกับวัฒนธรรมเปอรานากันที่โดดเด่น 4. สำรวจศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเปอรานากัน 5. จัดเก็บและรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเปอรานากัน 6. รวบรวมและจัดทำคู่มือการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเปอรานากัน ซึ่งจากการศึกษา พบว่า มีเส้นทางสายวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่น 2 เส้นทาง คือ 1. เส้นทางท่องเที่ยวสายวัฒนธรรม ที่ 1 เสน่ห์เมืองเก่า เล่าความหลัง มนต์ขลังตะกั่วป่า และ 2. เส้นทางท่องเที่ยวสายวัฒนธรรม ที่ 2 ชมเมืองเก่า – เชยชมชุมชนวิถีชีวิตอันเรียบง่าย - ชวนเรียนรู้วัฒนธรรมแต่งกายบาบ๋า – ชิมเต้าส้อโบราณ – เช็คอินถนนคนเดินศรีตะกั่วป่า ซึ่งทั้งสองเส้นทางมีคุณค่าและจุดเด่นในเรื่องของวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนที่เรียบง่าย และเต็มไปด้วยเรื่องราวที่น่าค้นหา โดยมีข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งหน้าควรจะมีการศึกษาเพื่อการพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงวัฒนธรรมเปอนารากันในเขตพื้นที่เมืองเก่าในภูมิภาค หรือกลุ่มจังหวัดเดียวกัน เพื่อเกิดการบูรณาการร่วมกัน รวมถึงการท่องเที่ยวเชื่อมโยงภูมิภาค เพื่อขยายการท่องเที่ยวของไทย และภูมิภาคไปพร้อมกัน ซึ่งนับเป็นมูลค่ามากมายที่จะสามารถพัฒนาชุมชนให้มีความน่าสนใจในการท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กนกกานต์ วีระกุล. (2556). การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอาหาร. สนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว).
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพังงา. (2561). ชู “เมืองเก่าตะกั่วป่า” จังหวัดพังงา นำร่องการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2562, สืบค้นจาก https://mgronline.com/travel/detail/9610000017953
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพัฒนาปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเก้ลา.
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). การพัฒนาระบบบริหารและกลไกการวิจัยการท่องเที่ยวติดพื้นที่กลุ่มจังหวัดอันดามัน. สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
เทศบาลเมืองตะกั่วป่า. (2562). วิสัยทัศน์และการพัฒนา. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2562, สืบค้นจาก http://www.takuapacity.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=145&Itemi d=1342
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: บริษัท เพรสแอนด์ ดีไซน์ จำกัด
ปรัชญาพร พัฒนผล. (2554). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยววัฒนธรรมแม่น้ำเพชรบุรี.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานวัฒนธรรม วิทยาลัยนวัตกรรม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปราณี สกุลพิพัฒน์. (2549). สมาคมเพอรานากันในจังหวัดภูเก็ต. ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
พงษ์พันธ์ มอญพันธุ์. (2558). เส้นทางสายวัฒนธรรม Heritage Route. TAT Review. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2562, สืบค้นจาก http://www.etatjournal.com/web/menu-read-tat/menu-2015/menu-32015/666-32015-heritage-route.
พุมรี อรรถรัฐเสถียร. (2556). เปอนารากัน (Peranakan) สายเลือดลูกผสม. วารสารกึ่งวิชาการรูสะมิแล, 34(2), 91-95. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2562, สืบค้นจาก
https://www.tcithaijo.org/index.php/ rusamelae/article/view/62915/51696
พีรพงค์ จันทร์คำ. (2559). บาบ๋า-ย่าหยา วัฒนธรรมลูกผสมแห่งคาบสมุทรมลายู. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2562,
สืบค้นจาก http://worldcivil14.blogspot.com/2016/04/baba-nyonya.html [23 เมษายน 2559]
ยุทธศักดิ์ สุภสร. (2562). ทิศทางท่องเที่ยวไทยในปี 2562. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2562, สืบค้นจาก https://www.tatreviewmagazine.com/article/tourism-thailand-2562/
ราณี อิสิชัยกุล. (2546). การทองเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเอกสารการสอนชุดวิชาประสบการณ วิชาชีพการจัดการการทองเที่ยว (Professional experience in tourism management). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วีระพล ทองมา และคณะ. (2554). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของชุมชนชาวจีนในพื้นที่ลุ่มน้ำ
แม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ศรยุทธ์ เอี่ยมเอื้อยุทธ. (2553). เรื่องเล่าผู้คน: เปิดโลก...เปอรานากัน. วารสารสยามใหม่จากมุมมองท้องถิ่น. 70 ตุลาคม-พฤศจิกายน, 12-13.
ศิริ ฮามสุโพธิ์. (2543). สังคมวิทยาการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์. (2550). พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่. ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต.
สุดาพร วรพล. (2550). การจัดการการท่องเที่ยวและมรดกวัฒนธรรมของชาติ. จุลสารการท่องเที่ยว 2. (เมษายน-มิถุนายน).
อติยศ สรรคบุรานุรักษ์ และ ศศิณัฎฐ์ สรรคบุรานุรักษ์. (2561). เปอรานากัน : บาบ๋า-ย่าหยามรดกทางวัฒนธรรมสายเลือดลูกผสมมลายู-จีน. Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(3) (2740-2755).
Book
ICOMOS. (2004). ICOMOS. International Charters for Conservation and Restoration – Monuments and
Sites I. Munich: Lipp GmbH.
ICOMOS. (2008). Tourism at World Heritage Cultural Sites: The Site Manager’s Handbook. Spain: World Tourism Organization.
Petite nyonya. (2009). Peranakan/ BabaNyonya – Its Historical Beginning and Culture at a Glance. Retrieved August 30, 2018. From: http://nyonyapendekmelaka.blogspot.com/2009/07/peranakan–Its-historical-beginning-culture
Richards et al. (2007). Cultural In Europe. CAB International, Wallingford, UK.
Robinson, Natalie V. (1980). Nonya Ware. Arts of Asia 10, 1 (January-February) 8-13.