จริยธรรมการตีพิมพ์

บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)

1. ผู้นิพนธ์ต้องส่งผลงานที่ใหม่ ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น

2. ผู้นิพนธ์ต้องไม่บิดเบือน ปลอมแปลง หรือนำเสนอข้อมูลอันเป็นเท็จ

3. ผู้นิพนธ์ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น (plagiarism) และต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ในข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ในบทความของตนเอง

4. ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่นอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อมีการนำผลงานเหล่านั้นมาอ้างอิงใช้ในบทความของตนเอง ต้องจัดทำรายการบรรณานุกรม ท้ายบทความ อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และใช้รูปแบบตามที่วารสารกำหนด

5. ผู้นิพนธ์ที่มีรายชื่อปรากฏในบทความทุกคน จะต้องมีส่วนร่วมในการจัดทำบทความ หรือมีส่วนร่วมในการทำวิจัยจริง

6. ผู้นิพนธ์ต้องจัดทำต้นฉบับบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารกำหนด

7. ผู้นิพนธ์ต้องระบุชื่อแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัย (ถ้ามี) และต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)

8. ผู้นิพนธ์ต้องแก้ไขบทความตามผลประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด

9. ผู้นิพนธ์ต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานผู้อื่น หากเกิดกรณีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ส่วนใดส่วนหนึ่งในบทความ ผู้นิพนธ์และผู้นิพนธ์ร่วมจะต้องรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว

 

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ (Duties of Editors)

1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองบทความให้ตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร หากพบว่าไม่สอดคล้อง บรรณาธิการต้องแจ้งให้ผู้นิพนธ์ทราบและปฏิเสธการรับบทความ

2. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาและตรวจสอบคุณภาพของบทความ ก่อนการพิจารณาตีพิมพ์ทุกบทความ

3. บรรณาธิการต้องจัดการพิจารณาบทความแบบ double blind peer review ต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ และข้อมูลของผู้ทรงคุณวุฒิประเมิน แก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ

4. บรรณาธิการต้องจัดให้มีผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความอย่างน้อย 2 ท่าน โดยเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากหลากหลายสถาบัน

5. บรรณาธิการต้องตรวจสอบการคัดลอกผลงานผู้อื่นในบทความของผู้นิพนธ์ หากพบว่ามีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น ในกระบวนการประเมินบทความ ต้องหยุดกระบวนการ และติดต่อผู้นิพนธ์ เพื่อขอคำชี้แจง ประกอบการพิจารณา ตอบรับ หรือ ปฏิเสธ การตีพิมพ์บทความ

6. บรรณาธิการมีหน้าที่ตัดสินใจในการยอมรับหรือปฏิเสธบทความเพื่อการตีพิมพ์

7. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์หรือผู้ทรงคุณวุฒิ

8. บรรณาธิการต้องไม่นำบทความไปใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจหรือนำไปเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง

9. บรรณาธิการต้องรักษามาตรฐานของวารสาร รวมถึงพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพและมีความทันสมัยเสมอ

 

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)

1. ผู้ประเมินบทความควรรับประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ หากไม่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง ผู้ประเมินบทความควรแจ้งบรรณาธิการและปฏิเสธการประเมินบทความ

2. ผู้ประเมินบทความต้องประเมินบทความและให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้นิพนธ์อย่างเข้มข้นเต็มกำลังความสามารถ

3. ผู้ประเมินบทความต้องประเมินบทความโดยคำนึงถึงคุณภาพของบทความ ภายใต้เหตุผลและคุณค่าทางวิชาการเป็นสำคัญ โดยไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความ

4. ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ

5. ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ หากผู้ประเมินไม่แน่ใจหรือพบว่าอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน ผู้ประเมินต้องแจ้งแก่บรรณาธิการและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น

6. ผู้ประเมินบทความต้องตรวจสอบการคัดลอกบทความ หากพบว่ามีส่วนใดของบทความที่มีความเหมือน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานอื่น โดยมีหลักฐานอย่างชัดแจ้ง ผู้ประเมินต้องแจ้งบรรณาธิการทันที

7. ผู้ประเมินบทความต้องไม่แสวงหาประโยชน์จากผลงานที่ตนเองประเมิน

8. ผู้ประเมินบทความต้องให้ข้อแนะนำและรายละเอียดเพื่อให้ผู้นิพนธ์แก้ไขบทความ ให้เหตุผลการตอบรับบทความ หรือปฏิเสธบทความ แก่บรรณาธิการ

9. ผู้ประเมินบทความต้องพิจารณาบทความตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด หากผู้ประเมินบทความไม่สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ติดต่อบรรณาธิการเพื่อกำหนดระยะเวลาในการส่งผลการพิจารณาใหม่