คำแนะนำสำหรับการใช้ทำงานผ่านระบบวารสารออนไลน์: คลิกอ่านเอกสาร
ระเบียบการการตีพิมพ์และเผยแพร่บทความ
คำแนะนำการเตรียมต้นฉบับบทความ
Template บทความ
คำแนะนำการเตรียมต้นฉบับบทความเพื่อพิจารณาการตีพิมพ์ในวารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความอย่างยั่งยืน (Journal of Sustainable Tourism Development)
- การเตรียมต้นฉบับมีรายละเอียด ดังนี้
1.1 ขนาดของต้นฉบับ พิมพ์หน้าเดียวบนกระดาษขนาด A4 โดยเว้นระยะห่างระหว่างกระดาษด้านบนและด้านซ้ายมือ 1.5 นิ้ว ด้านล่างและขวามือ 1 นิ้ว
1.2 รูปแบบอักษรและการจัดวางตำแหน่ง ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK พิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด โดยใช้ขนาด ชนิดของตัวอักษร รวมทั้งการจัดวางตำแหน่ง ดังนี้
1.2.1 ท้ายกระดาษ ประกอบด้วย
1) ชื่อเรื่องต้นฉบับของผู้เขียน ขนาด 14 ชนิดตัวธรรมดา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษ ด้านซ้าย
2) เลขหน้า ขนาด 14 ชนิดตัวธรรมดา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านขวา
1.2.2 ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) ขนาด 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ
1.2.3 ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ) ขนาด 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ
1.2.4 ชื่อผู้เขียน (ภาษาไทยและอังกฤษ) ขนาด 14 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ
1.2.5 ที่อยู่หรือหน่วยงานสังกัดของผู้เขียน (ภาษาไทยและอังกฤษ) และอีเมล์ ขนาด 14 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ
1.2.6 หัวข้อของบทคัดย่อภาษาไทยและอังกฤษ ขนาด 14 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย
1.2.7 เนื้อหาบทคัดย่อภาษาไทยและอังกฤษ ขนาด 14 ชนิดตัวธรรมดา จัดพิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ บรรทัดแรกเว้น 1 Tab จากขอบกระดาษด้านซ้าย และพิมพ์ให้ชิดขอบทั้งสองด้าน
1.2.8 หัวข้อเรื่อง ขนาด 14 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย
1.2.9 หัวข้อย่อย ขนาด 14 ชนิดตัวธรรมดา ระบุหมายเลขหน้าหัวข้อย่อย โดยเรียงตามลำดับหมายเลขตำแหน่งเว้น 1 Tab จากขอบกระดาษด้านซ้าย และพิมพ์ให้ชิดขอบทั้งสองด้าน
1.2.10 เนื้อหา ขนาด 14 ชนิดตัวธรรมดา จัดพิมพ์เป็น 1 คอลัมภ์ บรรทัดแรกเว้น 1 Tab จากขอบกระดาษด้านซ้าย และพิมพ์ให้ชิดขอบทั้งสองด้าน
1.3 จำนวนหน้าต้นฉบับความยาวทั้งหมด ไม่ควรเกิน 25 หน้ากระดาษ (นับตั้งแต่ชื่อเรื่อง-เอกสารอ้างอิง)
- การเรียงลำดับเนื้อหาต้นฉบับบทความ
2.1 การเรียงลำดับเนื้อหาต้นฉบับบทความวิจัย
- ชื่อเรื่องภาษาไทย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ
- ชื่อผู้เขียน คณะ มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานสังกัด ภาษาไทย
- ชื่อผู้เขียน คณะ มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานสังกัด ภาษาอังกฤษ
- อีเมลล์ของผู้เขียน
- บทคัดย่อภาษาไทยและคำสำคัญ
- บทคัดย่อภาษาอังกฤษและคำสำคัญ
- บทนำ
- วัตถุประสงค์
- แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและกรอบแนวคิด
- ระเบียบวิธีวิจัย
- ผลการศึกษา
- อภิปรายผล
- ข้อเสนอแนะ
- เอกสารอ้างอิง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2.2 การเรียงลำดับเนื้อหาต้นฉบับบทความวิชาการและปริทัศน์
- ชื่อเรื่องภาษาไทย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ
- ชื่อผู้เขียน คณะ มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานสังกัด ภาษาไทย
- ชื่อผู้เขียน คณะ มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานสังกัด ภาษาอังกฤษ
- อีเมลล์ของผู้เขียน
- บทคัดย่อภาษาไทยและคำสำคัญ
- บทคัดย่อภาษาอังกฤษและคำสำคัญ
- บทนำ
- เนื้อหา
- บทวิเคราะห์ วิจารณ์ และข้อเสนอแนะ
- บทสรุป
- เอกสารอ้างอิง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- การอ้างอิง
การอ้างอิงเอกสารให้ใช้ระบบ APA7 - APA Style (American Psychological Association Style) การอ้างอิงแทรกในเนื้อหาใช้ระบบนามปี ระบุ (ชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์)
ตัวอย่างการเขียนอ้างอิง
หนังสือ
การอ้างอิงเอกสารภาษาไทย
ชื่อ นามสกุล.(ปี พ.ศ.).ชื่อเรื่อง (ครั้งที่พิมพ์). ชื่อสำนักพิมพ์.
การอ้างอิงเอกสารภาษาอังกฤษ
นามสกุล, ชื่อย่อ. (ปี ค.ศ.). ชื่อเรื่อง (ครั้งที่พิมพ์). ชื่อสำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง :
เอนก สุวรรณบัณฑิต และภาสกร อดุลพัฒนกิจ. (2550). จิตวิทยาบริการ. เพรส แอนด์ ดีไซน์.
Jones, M. (2009). Sustainable event management: A practical guide (2nd ed.). Routledge.
การนำไปใช้ในเนื้อหา:
การอ้างอิงแทรกในเนื้อหาหรือท้ายข้อความ (Jones, 2009)
การอ้างอิงก่อนขึ้นข้อความหรืออ้างอิงเชิงบรรยาย Jones (2018)
*การอ้างอิงในเนื้อหาสำหรับผู้แต่งตั้งแต่ 3 คน ขึ้นไป ให้ใช้คำว่า et al. หรือ และคณะ เท่านั้น
บทความในวารสาร
การอ้างอิงเอกสารภาษาไทย
ชื่อ นามสกุล. (ปี พ.ศ.). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, เลขของปีที่(เลขของฉบับที่), เลขหน้า.
การอ้างอิงเอกสารภาษาอังกฤษ
นามสกุล, ชื่อย่อ. (ปี ค.ศ.). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, เลขของปีที่(เลขของฉบับที่), เลขหน้า.
ตัวอย่าง :
พิชชานันท์ ช่องรักษ์ และ เจริญชัย เอกมาไพศาล. (2553). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของภาพลักษณ์อาหารริมทาง ทัศนคติต่อจุดหมายปลายทาง การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และ ความตั้งใจกลับมาจุดหมายปลายทางซ้ำของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษาย่านเยาวราช. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ, 9(17), 1-20.
Pitt, M., & Smith, A. (2003). Waste management efficiency at UK airports. Journal of Air Transport Management, 9(2), 103-111.
การนำไปใช้ในเนื้อหา:
การอ้างอิงแทรกในเนื้อหาหรือท้ายข้อความ (Pitt & Smith, 2003)
การอ้างอิงก่อนขึ้นข้อความหรืออ้างอิงเชิงบรรยาย Pitt and Smith (2003)
*การอ้างอิงในเนื้อหาสำหรับผู้แต่งตั้งแต่ 3 คน ขึ้นไป ให้ใช้คำว่า et al. หรือ และคณะ เท่านั้น
วิทยานิพนธ์ที่ไม่เผยแพร่
การอ้างอิงเอกสารภาษาไทย
ชื่อ นามสกุล. (ปี พ.ศ.). ชื่อบทความ. ชื่อวิทยานิพนธ์ [ไม่ได้เผยแพร่ ระดับปริญญา]. ชื่อสถาบัน.
การอ้างอิงเอกสารภาษาอังกฤษ
Surname, Initials. (Year). Title of the dissertation. [Unpublished degree]. University name.
Example:
Daniel, C.N., & Berinyuy, L.P. (2010). Using the SERVQUAL Model to assess service quality and customer satisfaction: An empirical study of grocery stores in Umea [Unpublished Master’s thesis]. Umea University.
วิทยานิพนธ์ที่เผยแพร่ในฐานข้อมูล
การอ้างอิงเอกสารภาษาไทย
ชื่อ นามสกุล. (ปี พ.ศ.). ชื่อบทความ. ชื่อวิทยานิพนธ์ [ระดับปริญญา, ชื่อสถาบัน]. ฐานข้อมูล.
การอ้างอิงเอกสารภาษาอังกฤษ
Surname, Initials. (Year). Title of the dissertation. [degree, University]. Database.
Example:
Daniel, C.N., & Berinyuy, L.P. (2010). Using the SERVQUAL Model to assess service quality and customer satisfaction: An empirical study of grocery stores in Umea [Master’s thesis, Umea University]. Proquest.
บทความที่บรรจุอยู่ในการประชุมและการนำเสนอผลงานวิชาการ
การอ้างอิงเอกสารภาษาไทย
ชื่อ นามสกุล. (ปี, เดือน วันที่). ชื่อผลงาน [Conference session]. ชื่อการประชุม, สถานที่.
การอ้างอิงเอกสารอังกฤษ
Surname, Initials. (Year, Month Day). Title [Conference session]. Conference Name, Location.
Example:
Chaiyaratsamee, K. & Khunboa, C. (2020, January 1). Object tracking system using wireless sensor network [Conference session]. Engineering National Conference, Khon Kaen University.
- การส่งต้นฉบับบทความ
ผู้เขียนส่งต้นฉบับบทความผ่านระบบออนไลน์ของวารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความอย่างยั่งยืน ทางเว็บไซต์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD โดยสมัครเป็นสมาชิก และกรอกข้อมูลตามที่ระบบแจ้ง พร้อมทั้งอัพโหลดไฟล์ต้นฉบับในรูปแบบ Microsoft Word
- การพิจารณาบทความ
ต้นฉบับบทความจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาวิชา นั้น ๆ จำนวนอย่างน้อย 2 ท่าน โดยวิธีพิจารณา Double Blinded Review และส่งผลการพิจารณาแก่ผู้เขียน เพื่อปรับปรุง แก้ไข บทความ หรือพิมพ์ต้นฉบับใหม่ แล้วแต่กรณี เมื่อบทความผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการแล้วผู้เขียนจึงจะได้รับใบตอบรับการตีพิมพ์ บทความในวารสาร