การจัดการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์: การท่องเที่ยวบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชน

Main Article Content

มนรัตน์ ใจเอื้อ
ถิรพร แสงพิรุณ

บทคัดย่อ

             บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ 2) เพื่อสร้างความเข้าใจการมีส่วนร่วมของชุมชนและอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ การท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว เพื่อมาพักผ่อน มาเรียนรู้ศึกษา วิถีชีวิตของสัตว์ป่าและศึกษาธรรมชาติของป่าไม้ โดยอุทยานแห่งชาติแม่วงก์มีการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการจัดกิจกรรมนันทนาการ ได้แก่ การตั้งแคมป์ไฟ มีกิจกรรมเดินป่า และกิจกรรมพิชิตยอดเขาโมโกจู มีบ้านพักรับรองนักท่องเที่ยว มีน้ำตกแม่กระสา จุดชมวิวกิ่วกระทิง มีบ่อน้ำพุร้อน


             ในบทความนี้ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ซึ่งเป็นพื้นที่การบริหารจัดการโดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อการอนุรักษ์และวิจัยทรัพยากรทางธรรมชาติและระบบนิเวศ อีกทั้งเป็นแหล่งนันทนาการสำหรับนักท่องเที่ยว โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช มีการบริหารจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวและจัดสรรพื้นที่ให้ชุมชนทั้งชาวไทยพื้นราบและชาวเขาได้มีพื้นที่ทำกินและไม่บุกรุกเขตอุทยานแห่งชาติ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาการลักลอบเผาป่า เก็บของป่าไปขาย อีกทั้งให้ตัวแทนของชุมชนเป็นคณะกรรมการของอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จึงเกิดการจัดการแบบสันติวิธี เป็นวิถีการจัดการผืนป่าตะวันตกร่วมกับชุมชน และเกิดความเข้าใจโดยสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จึงทำให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2552). บันทึกธรรมชาติผืนป่าแม่วงก์. อุทยานแห่งชาติแม่วงก์,
กำแพงเพชร: เจริญการพิมพ์.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2553). ทรัพยากรการท่องเที่ยวในประเทศไทย. 5 มกราคม 2553.
http://www.tat.ac.th
กุลวรา สุวรรณพิมล. (2548). หลักการมัคคุเทศก์. กรุงเทพมหานคร: แสงดาว.
ธนกฤต สังข์เฉย. (2550). อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการบริการ. กรุงเทพมหานคร: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี.
แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. (2560). สรุปยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี 2560-2579. สืบค้นเมื่อ 20
มิถุนายน 2562, สืบค้นจาก http://krukob.com
พยอม วงศ์สารศรี. (2548). องค์การและการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
นิคม จารุมณี. (2535). การท่องเที่ยวและการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร. หน่วยศึกษานิเทศก์. กรมการฝึกหัดครู.
วิมล จิโรจพันธุ์ และคณะ. (2548). การท่องเที่ยวเชงนิเวศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แสงดาว.
สมคิด บางโม. (2548). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์.
สาคร สุขศรีวงศ์. (2550). การจัดการ: จากมุมมองนักบริหาร. กรุงเทพมหานคร: จี.พี.ไซเบอร์พรินท์.
เอนก สุวรรณบัณฑิตและคณะ. (2550). จิตวิทยาบริการ. กรุงเทพมหานคร: อดุลพัฒนกิจ.
Sharpley R. Mr; SHarpley J. Ms. (1997). Rural Tourism. International Thomson Business Press,
United Kingdom.