การศึกษาการรับรู้ของผู้บริโภค เพื่อการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าโอทอปจังหวัดยะลา

Main Article Content

ดร.ขวัญรัตน์ จินดา

บทคัดย่อ

การศึกษาการรับรู้ของผู้บริโภคเพื่อนำมาออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าโอทอป ที่มีความสอดคล้องกับสินค้านั้นๆ รวมถึงตอบสนองต่อการนำเสนอรูปแบบและสร้างความดึงดูดใจต่อกลุ่มเป้าหมายที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค มีบทบาทต่อการส่งเสริมการตลาดและมีความสอดคล้องต่อพื้นถิ่นเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดยะลา การดำเนินงานสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เน้นการออกแบบเพื่อความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของจังหวัดยะลา แล้วจึงศึกษาการรับรู้ของผู้บริโภคเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ โดยเจาะจงสินค้าที่เลือกมาเป็นตัวอย่างในการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ด้วยกัน 5ชนิด แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1.) ทุเรียนกวน 2.) กล้วยหินแปรรูปและทุเรียนทอดกรอบ 3.) ผ้าคลุมผม และ 4.) น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ผลการศึกษาพบว่า ผังเมืองจังหวัดยะลา เป็นสิ่งที่คนรับรู้ถึงการสะท้อนลักษณะเฉพาะถิ่นและเป็นเอกลักษณ์ ของจังหวัดยะลาได้ดีที่สุด รองลงมาเป็นการใช้คำขวัญ สัญลักษณ์ประจำจังหวัด ที่สามารถสื่อความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะจังหวัดยะลาได้ อันเนื่องมาจากคนรับรู้และสามารถจดจำได้จากสื่อต่างๆ  ในขณะที่ ปัจจัยในการออกแบบบรรจุภัณฑ์-พบว่ารูปแบบการบรรจุมีความหลากหลาย ตามความต้องการจากประโยชน์และขนาดบรรจุ ในส่วนวัสดุบรรจุภัณฑ์นอกจากจะเพื่อการบรรจุสินค้าจำหน่ายแล้ว ยังจะมีส่วนส่งเสริมให้สามารถเก็บรักษาสินค้าให้คงคุณภาพได้จนถึงมือผู้บริโภคตามระยะเวลาที่สมควร ไม่เกิดความเสียหายใดๆ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อ และสามารถแสดงให้เห็นสินค้าด้านในได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Rocchi, Benedetto, and Gianluca Stefani. (2005). Consumers’ Perception of Wine
Packaging: A Case Study. International Journal of Wine Marketing, 18 (1): 33-44
Silayoi, Pinya, and Mark Speece. (2004). Packaging and Purchase Decisions. British
Food Journal, 106 (8): 607-28.
กองข่าวสารท่องเที่ยว ททท.นราธิวาส. (2552). ยะลา.นราธิวาส: กองผลิตอุปกรณ์เผยแพร่ ฝ่ายบริการการตลาด. นราธิวาส.
คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดยะลา. (2555). แผนพัฒนาจังหวัดยะลา 4 ปี
(พ.ศ. 2557-2560). ยะลา.
งานประชาสัมพันธ์ กองวิชาการและแผนงาน เทศบาลเบตง. ชมเมือง..เล่าเรื่องเบตง. ยะลา
งานประชาสัมพันธ์ กองวิชาการและแผนงาน เทศบาลเบตง. (2546). รายงานกิจการ เทศบาล ตำบลเบตง 2543-
2546. ยะลา.
งานประชาสัมพันธ์ กองวิชาการและแผนงาน เทศบาลเบตง. (2549). สัมผัสเบตง. ยะลา
ทินวงษ์ รักอิสสระกุล และธัญญธร อินทร์ท่าฉาง. (2556). “การศึกษาอัตลักษณ์ท้องถิ่นประจำภาคเหนือตอนล่าง
เพื่อการออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ของที่ระลึก” วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร
ฉบับภาษาไทย. ปีที่ 33(1): 93-110.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2555). “ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์” พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ:
ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา
อังกาบ บุญสูง. (2556). “การออกแบบบรรจุภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง อำเภอท่าฟาก จังหวัดอุตรดิตถ์”
วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. ปีที่ 6(1): 85-97.