ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการมาท่องเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษาเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

นางสาวชิดชม กันจุฬา

บทคัดย่อ

 การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวเกาะเกร็ด 2) เพื่อศึกษาทัศนคติของนักท่องเที่ยวต่อแหล่งท่องเที่ยว 3) เพื่อศึกษาแรงจูงใจทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว 4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการมาท่องเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวเกาะเกร็ด จำนวน 390  คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการแจกแบบสอบถามแบบสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) แล้วรอรับแบบสอบถามจากผู้ตอบแบบสอบถามโดยสถิติที่ใช้ ได้แก่ t-test, One -Way ANOVA และ Multiple Regression model ผลการศึกษา พบว่า นักท่องเที่ยวมีทัศนคติภาพรวมอยู่ในระดับดี แรงจูงภาพรวมอยู่ในระดับมาก นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เคยมาเที่ยวก่อนหน้านี้ 2 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 38.7 วัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ คิดเป็นร้อยละ 38.9 การเดินทางมาท่องเที่ยวโดยรถส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 42.6 มีจำนวนสมาชิกที่ร่วมเดินทางมาท่องเที่ยวด้วย 2-3 คน คิดเป็นร้อยละ 51.3 ลักษณะความสัมพันธ์ของกลุ่มบุคคลที่ร่วมเดินทางคือ เพื่อน คิดเป็นร้อยละ 39.5 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการมาท่องเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเกาะเกร็ด พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7P’s ประกอบด้วย (ด้านผลิตภัณฑ์ด้าน ด้านช่องทางจัดจำหน่าย ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการ และด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ) ทัศนคติ และรายได้ มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการมาท่องเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเกาะเกร็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P-value < 0.01 ซึ่งส่งผลทางบวก


              ข้อเสนอแนะ ผู้ประกอบการหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรวางแผนกลยุทธ์ด้านการตลาดทำสื่อโฆษณา  โปรโมชั่น ความหลากหลายของสินค้า โดยเน้นเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ร้านค้าที่ต้องการดึงดูดนักท่องเที่ยว จัดโปรโมชั่นลดราคา จัดทัวร์เที่ยวไหว้พระรอบเกาะเกร็ด ส่งเสริมให้พ่อค้าแม่ค้าหรือคนในท้องถิ่นเกาะเกร็ดบริการนักท่องเที่ยวอย่างเท่าเทียมกันทั้งนักท่องเที่ยวที่เป็นคนไทยหรือต่างชาติ และจัดบริการให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวในวัยทำงาน รับจ้างทั่วไป พนักงานเอกชน และควรพัฒนาปรับปรุงให้มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวประทับใจและเกินความต้องการกับมาเที่ยวซ้ำอีกในครั้งต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฑามาศ กันตพลธิติมา. (2560). ศึกษาภาพลักษณ์และทัศนคติต่อการท่องเที่ยวในเขตเมืองพัทยาจังหวัดชลบุรีของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ส่งผลต่อการกลับมาเยือนซ้ำ. วิทยานิพนธ์.
สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์. (2559). ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการใช้บริการและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ที่มาใช้บริการเรือนำเที่ยวรอบเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยาลัย
ดุสิตธานี ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2559. หน้า 239-259
นริศา มัจฉริยกุล. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวแบบอิสระบนเกาะไต้หวันของนักท่องเที่ยวชาวไทย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มัทนี คำสำราญ. (2557). ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของชาวมุสลิมในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ. สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว.
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ณัชชา ดวดรักษ์. (2557). ความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจมาเยี่ยมเยือนชุมชนเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ของนักทัศนาจรชาวไทย. การประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2557
(National Research Conference 2014). หน้า 605 – 615.
ดุษฎี เทียมเทศบุญมาสูงทรง, นางสุพรรณี พรภักดี, และนายปุริม หนุนนัด. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการมาท่องเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวใน อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัด
นครราชสีมา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
ดิฐพวิไลซ์ อ่อนยิ้ม. (2557). ทัศนคติและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทย ต่อการท่องเที่ยวอุทยานเมืองเก่าพิจิตร. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. ปีที่ 10 ฉบับที่ 2/2557. หน้า
56-73.
เพ็ญนภา เพ็งประไพ. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติในกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสังคมและวัฒนธรรมของเกาะพะงัน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศรัญญา ศรีสุข และคณะ. (2560). การตัดสินใจของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวเกาะเกร็ดจังหวัดนนทบุรี. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 2560 : 35 (3) : 108-116
สุดารัตน์ เป้ทุ่ง. (2554). ความหมาย องค์ประกอบ และลักษณะของทัศนคติ. สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/educationalpsychology2555/bth-thi-5-thvsdi-kar- reiyn-
ru/5-2-xngkh-prakxb-khxng-thasnkhti
สำนักงานเกษตรจังหวัดนนทบุรี. (2559). แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. จังหวัดนนทบุรี.
อำไพพรรณ รัตนปาณี. (2550). ศึกษาแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์. สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี
อติกานต์ ไพโรจน์พิริยะกุล และสุชาติ ทวีพรปฐมกุล. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อ การตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางไปท่องเที่ยวเมืองหลวงพระบาง. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬา
และสุขภาพ, 13(1).
Kotler, P. (2003). Marketing management (11th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall
Maslow, A. H. (1970). Motivation and personality. New York: Harper & Brother.