การศึกษาเปรียบเทียบวัตถุประสงค์ในการเดินทางไปท่องเที่ยวเชิงกีฬาวิ่งของนักท่องเที่ยวเชิงกีฬา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเดินทางไปท่องเที่ยวเชิงกีฬาวิ่งของนักท่องเที่ยวเชิงกีฬาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการเดินทางไปท่องเที่ยวเชิงกีฬาวิ่งของนักท่องเที่ยวเชิงกีฬา และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบวัตถุประสงค์ในการเดินทางไปท่องเทียวเชิงกีฬาวิ่งของนักท่องเที่ยวเชิงกีฬา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร จำนวน 130 คนจากนั้นทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแรงจูงใจในการเดินทางไปท่องเที่ยวเชิงกีฬาวิ่งของนักท่องเที่ยวเชิงกีฬา ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลในพื้นที่ที่ทำการศึกษา แล้วจึงแจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูล และนำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ผลการศึกษาแรงจูงใจในการเดินทางไปท่องเที่ยวเชิงกีฬาของนักท่องเที่ยวใช้สถิติพรรณนา หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ค่าความแปรปรวน anova ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจในการเดินทางไปท่องเที่ยวเชิงกีฬาวิ่ง ปัจจัยด้านสถานที่โดยภาพรวม มีแรงจูงใจอยู่ในระดับมากที่สุด ปัจจัยด้านกิจกรรมโดยภาพรวม มีแรงจูงใจอยู่ในระดับมากที่สุด และปัจจัยด้านอื่น ๆ โดยภาพรวม มีแรงจูงใจอยู่ในระดับมากที่สุด แรงจูงใจโดยภาพรวม มีแรงจูงใจอยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบแรงจูงใจในการเดินทางไปท่องเที่ยวเชิงกีฬาวิ่งของนักท่องเที่ยวเชิงกีฬา จำแนกตามวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยว โดยใช้การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีวัตถุประสงค์ต่างกัน มีแรงจูงใจในการเดินทางไปท่องเที่ยวเชิงกีฬาวิ่ง ปัจจัยด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน ส่วนภาพรวม ปัจจัยด้านสถานที่ และปัจจัยด้านกิจกรรม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ห้ามผู้ใดนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นอกจากนี้ เนื้อหาที่ปรากฎในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กูเกิ้ลไซต์. (มปป.). การสร้างผลิตผลในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ. สืบค้นเมื่อ มีนาคม,15,2562, จากhttps://sites.google.com/site/bacsang0710/kar-srang-raeng-cungci
ธเนศวร์ เพชรสุวรรณ.(2561). ททท.เปิดแผนสื่อสารปี”62 ชูท่องเที่ยวเชิง “กีฬา-อาหาร”. สืบค้นเมื่อ มีนาคม,16,2562, จาก https://www.prachachat.net/tourism/news-178304
ธัญชนก บุญเจือ. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการสื่อและสิ่งพิมพ์กราฟฟิคไซท์. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
โอภาส เฉิดพันธุ์. (2560). สืบค้นเมื่อ มีนาคม,15,2562, จาก https://brandinside.asia/running-for-health-and-business/
อุศวิน แสงพิกุล. (2556). ระเบียบวิธีวัยด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม .กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
วิทยา อินทร์พงษ์พันธุ์. (2019). Factor Affecting Sport Tourism Strategy of Thailand. Burapha Journal of Business Management Burapha University, 8(1), 43-61.