แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบ ชุมชนบ้านสาวะถี จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

นางสาววนิดา อ่อนละมัย

บทคัดย่อ

            บทความนี้มีวัตถุประสงค์พื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบ การท่องเที่ยวโดยชุมชน และสถานการณ์ปัจจุบันการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านสาวะถี จังหวัดขอนแก่น ทั้งนี้เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบ ชุมชนบ้านสาวะถี จังหวัดขอนแก่น จากการศึกษาพบว่า แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบ ชุมชนบ้านสาวะถี จังหวัดขอนแก่น สามารถบูรณาการแนวคิดและทฤษฎีการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบ และใช้หลักการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนเข้ามาปรับใช้ โดยสามารถนำเสนอตามองค์ประกอบการท่องเที่ยวโดยชุมชน 4 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม กิจกรรมการท่องเที่ยวใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุที่มีในท้องถิ่นซึ่งไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม แต่ละกิจกรรมท่องเที่ยวมีมาตรการ/วิธีการลดมลพิษและปริมาณขยะ เซ่น การใช้ย่าม ถุงผ้า ปิ่นโต ขวด/กระติกน้ำแบบเติมใหม่ได้ มีการรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวประหยัดการใช้พลังงาน เช่น น้ำ ไฟฟ้า กิจกรรมท่องเที่ยวมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมของชุมชน และกิจกรรมท่องเที่ยวเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสัมผัสวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชุมชน 2. ด้านองค์กรชุมชน ต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนโดยใช้ระบบสังคมที่เข้าใจกัน และชุมชนรู้สึกเป็นเจ้าของและเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาเพื่อนำไปสู่การจัดการทรัพยากรท่องเที่ยวชุมชนสู่ความยั่งยืนและมีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมและทั่วถึง 3. ด้านการจัดการ จะต้องให้ความสำคัญกับ กฎและกติกาในการจัดการสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว มีองค์กรหรือกลไกในการทำงานเพื่อจัดการการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบโดยเฉพาะ มีการกระจายผลประโยชน์ที่เป็นธรรม ซึ่งการจัดการจะแบ่งออกเป็นการจัดการสำหรับนักท่องเที่ยว และสำหรับชุมชน 4. ด้านการเรียนรู้ มีข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยแสดงและชี้แจงให้นักท่องเที่ยวได้รับทราบ ให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในกิจกรรมอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบทอดประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชน มีการจัดทำคู่มือสำหรับนักท่องเที่ยวในทุกกิจกรรมท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2552). จากพลังงานถึงถุงผ้า: แนวปฏิบัติสู่การท่องเที่ยวสีเขียวที่ยั่งยืน คู่มือผู้ประกอบการ – นักท่องเที่ยว เพื่อความเข้าใจภาวะโลกร้อน. กองส่งเสริมแหล่ง
ท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). Responsible Tourism จุดประกายการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ. สืบจาก http://tatacademy.com/th/news/295.
ปรัชญากรณ์ ไชยคช, (2559). ความหมายการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ. สมาคมไทยท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ. สืบจาก http://haroldgoodwin.info/responsible-tourism/.
พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ : โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.
สินธุ์ สโรบล และคณะ. (2545). การท่องเที่ยวโดยชุมชน : แนวคิดและประสบการณ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่ : โครงการประสานงานวิจัยและพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส). (2561). กิจกรรมการท่องเที่ยวบ้านสาวะถี. สืบจากhttp://www.artculture4health.com/contents/view/1145.
World Tourism Organization. (2014). Community-Based Tourism. Retrieved December 1, 2014, from
http://www.wto.org/english/tratop_e/dispu_e/disp_settlement_cbt_e/.
Yang, W. (2010) “The Development of Tourism in the Low Carbon Economy,” International Business Research, 3(4): 212 – 215.