ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเมืองรอง จังหวัดน่าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเมืองรอง จังหวัดน่าน 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเมืองรอง จังหวัดน่าน จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปท่องเที่ยว จังหวัดน่าน จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบกำหนดตัวอย่างโดยอาศัยความสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t- test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เปรียบเทียบค่าความแตกต่างรายคู่ โดยใช้ Least Significant Difference (LSD) และวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเมืองรอง จังหวัดน่าน มีระดับการตัดสินใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด อันดับแรก คือ ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ รองลงมา ด้านบุคคล และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ตามลำดับ 2) นักท่องเที่ยวที่มีสถานภาพด้านอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวไปท่องเที่ยวในจังหวัดน่านแตกต่างกัน ส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเมืองรอง จังหวัดน่าน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.28 สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 8.00 (R2 = 0.08) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลงานวิจัยที่ได้พบว่าสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานใช้ในการวิเคราะห์นโยบายและแผนพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรองเพื่อให้เกิดความยั่งยืนได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ห้ามผู้ใดนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นอกจากนี้ เนื้อหาที่ปรากฎในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
เอกสารอ้างอิง (ภาษาไทย)
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวอาเซียน พ.ศ. 2559-2568. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวอาเซียน พ.ศ. 2554-2564. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
เขมกร จินตานนท์, กนกวรรณ แสนเมือง และกาญจนา พันธุ์เอี่ยม. (2563). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 1-14.
จิรดาภา สนิทจันทร์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษาตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
จิระนันท์ ชัยรัตนคำโรจน์ และพภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2564). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ยั่งยืนในจังหวัดน่าน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุธ, 6(11), 259-276.
จิราภรณ์ บุญยิ่ง และสุจิตรา จันทนา. (2564). รูปแบบการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการวิสาหกิจการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบมีส่วนร่วม จังหวัดพัทลุง. Journal of MCU Nakhondhat, 8(1), 326-337.
ชิดชม กันจุฬา. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเมืองรองของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษาจังหวัดอ่างทอง. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 2(2), 64-80.
ชนิดาภา วรณาภรณ์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้บริการธนาคารกรุงไทย สาขาติวานนท์-กระทรวงสาธารณสุข [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสยาม.
ชลพลกฤต รัตน์นราทร. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเมืองรอง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ดาวเดือน อินเตชะ, พิมพ์พิศา จันทร์มณี และภูดิส เหล็งพั้ง. (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวใน จังหวัดลำปาง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(6), 173-187.
ทัชชะพงศ์ อัศวพรหมธาดา. (2550). ความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการจัดการการท่องเที่ยวตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เมลดา ธนิตนนท์. (2560). การศึกษาแรงจูงใจและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเที่ยวบ้านบางเขน
[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
รัชดาภรณ์ กองผุย. (2560). การตัดสินใจของผู้บริหารกับการบริหารงานพัสดุ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขต พระราชวังสนามจันทร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิริรัตน์ ขานทอง, ละเอียด ศิลาน้อย และกันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญในการท่องเที่ยวตลาดน้ำตลิ่งชัน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 10(1), 42-58.
ศิวธิดา ภูมิวรมุนี และอลิศรา ธรรมบุตร. (2564). ปัจจัยส่วนประสมด้านการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาหมู่บ้านช้าง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 3(3), 226-240.
สำนักงานจังหวัดน่าน. (2562). ประวัติความเป็นมา. http://www.nan.go.th/about-article/2/
สำนักงานสถิติจังหวัดน่าน. (2564). สถิติจำนวนนักท่องเที่ยวปี 2564.http://www.nan.go.th/ita-detail/708/
สิริภัทร์ โชติช่วง, ฬุลิยา ธีระธัญศิริกุล, ญาณิศา วาสุเทพ, ณสุดา บุญจันทร์, และทินภัทร โกประพัฒน์พงศ์. (2565). กลยุทธ์การสร้างภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวชุมชน. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 5(1), 80-95.
อมรรัตน์ วงศ์เป็ง. (2552). ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวประเทศ ไทยของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป. วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ, 4(2), 39-57.
เอกสารอ้างอิง (ภาษาอังกฤษ)
Booms, B. H. & Bitner, M. J. (1981) Marketing Strategies and Organization Structures for Service Firms. In J. H. Donnelly & W. R. Genrge (Eds.). Marketing of Services, American Marketing Association.
Ghadiri, M. M., Soori, F. S., & Arabi, M. A. (2012). Evaluation and leveled the Effective Components in Rural Tourism Marketing with Marketing Mix (7P) (Case Study: selected Provinces in Mazandaran). Journal of Urban Management, 32, 152-139.
Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation and Control (14th ed.). Prentice-Hall.
Yamane. T. (1973). Statistic and Introductory Analysis (3rd ed.). Harper and Row.