การศึกษากลยุทธ์ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของจังหวัดสุพรรณบุรี 2) ศึกษาและสำรวจศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของจังหวัดสุพรรณบุรี 3) จัดกลุ่มศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของจังหวัดสุพรรณบุรี มีการทำวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) และแบบประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในการดำเนินงานเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ผู้ประกอบการ เกษตรกร ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน นักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ร่วมกับการวิเคราะห์ SWOT ทำให้ได้ข้อมูลบริบทเชิงพื้นที่ และกลุ่มศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดสุพรรณบุรี จากการวิเคราะห์แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรีจำนวน 40 แห่ง พบว่ามีแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ในกลุ่มศักยภาพระดับดีมากจำนวน 5 แห่ง กลุ่มศักยภาพระดับดีจำนวน 7 แหล่ง กลุ่มศักยภาพระดับปานกลางจำนวน 9 แห่ง และกลุ่มศักยภาพระดับควรปรับปรุงจำนวน 19 แห่ง โดยเมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบหลักของศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร พบว่าศักยภาพการบริหารจัดการของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรมีคะแนนสูงที่สุดคือ 16.26 คะแนน รองลงมาได้แก่ ศักยภาพการดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรมีคะแนน 14.58 คะแนน ถัดมาคือศักยภาพการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรมีคะแนน 12.79 คะแนนส่วนศักยภาพการให้บริการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรมีค่าคะแนนต่ำสุดคือ 12.22 คะแนน ทั้งนี้ภาพรวมศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรีมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 55.85 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับศักยภาพที่ควรปรับปรุง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ห้ามผู้ใดนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นอกจากนี้ เนื้อหาที่ปรากฎในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
เอกสารอ้างอิง (ภาษาไทย)
กรมการท่องเที่ยว. (2558). การลงนามความร่วมมือภายในประเทศ. http://mots.go.th
กรมการท่องเที่ยว. (2567). คู่มือการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร. https://www.dot.go.th/ebooks/ebooks-view/732
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2561). การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร. https://esc.doae.go.th/
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). สุพรรณบุรี. https://www.tourismthailand.org/Destinations/Provinces/Suphan-Buri/239
คมพล สุวรรณกูฏ. (2555). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเพื่อการเสริมสร้างรายได้ภาคเกษตรกรรมในพื้นที่จังหวัดระยอง. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 37(4), 285 – 303. http://legacy.orst.go.th/royin2014/upload/246/FileUpload/2906_8642.pdf
เครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงเกษตรปากช่อง. (2558). การสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยว. http://agrotourism.doae.go.th/
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และ เพ็ญศิริ ศรีคำภา. (2557). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน: Sustainable tourism development. ธรรมสาร.
เพียงฤทัย เสงี่ยมศิลป์ และคณะ. (2561). การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของพื้นที่ตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. https://explore.nrct.go.th/search_detail/result/8243
สำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี. (2565). ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสุพรรณบุรี. https://ww1.suphanburi.go.th/strategic//?page=1
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2565). สารสนเทศเศรษฐกิจการเกษตรรายสินค้า ปี 2565. https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/jounal/2566/commodity2565.pdf
สุวิมล ตั้งประเสริฐ. (2554). การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดนครราชสีมาอย่างยั่งยืนภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 36(4), 607-628.