การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ เรื่องประวัติศาสตร์เมืองลำปาง เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกวัฒนธรรมท้องถิ่นของนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและ หลังเรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะเรื่องประวัติศาสตร์เมืองลำปางของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และศึกษาจิตสำนึกวัฒนธรรมท้องถิ่นของนักเรียนหลังจากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะเรื่องประวัติศาสตร์เมืองลำปาง กลุ่มเป้าในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษา ปีที่ 4/6 จำนวนทั้งหมด 37 คนโดยใช้การสุ่มอย่างง่าย ด้วยการจับสลากเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ในครั้งนี้เป็นเครื่องมือที่ผู้ได้สร้างขึ้น ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 แผนแผนละ 5 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 20 ชั่วโมงแบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินจิตสำนึกวัฒนธรรมท้องถิ่นข้อมูลที่ได้จากการทำวิจัยวิเคราะห์โดยค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน และ ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะเรื่องประวัติศาสตร์เมืองลำปางของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4พบว่าแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะได้ค่าประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เท่ากับ 82.06 เท่ากับ 81.76 ซึ่งมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะเรื่องประวัติศาสตร์เมืองลำปางของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4พบว่า คะแนนผลการเรียนรู้ แบบสืบเสาะเรื่องประวัติศาสตร์ เมืองลำปาง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (=32.59, S.D. = 1.50) สูงกว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลการเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์เมืองลำปางของนักเรียน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (=17.86, S.D. = 3.08)
3.ผลการศึกษาจิตสำนึกทางวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังจากเรียนรู้แบบสืบเสาะเรื่องประวัติศาสตร์เมืองลำปางพบว่าผลการศึกษาจิตสำนึกทางวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังจากเรียนรู้แบบสืบเสาะเรื่องประวัติศาสตร์เมืองลำปาง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.51, S.D. = 0.96) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนมีจิตสำนึกมากที่สุด เรียงตามลำดับดังนี้นักเรียนส่วนมีจิตสำนึกในด้านเศรษฐกิจของเมืองลำปางที่ได้รับจากการเรียนรู้เป็นลำดับที่หนึ่ง (= 3.97, S.D. = 0.87) รองลงมาคือด้าน ประวัติศาสตร์เมืองลำปาง ( = 3.57, S.D. = 0.9) ลำดับที่ สามคือ ด้านประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ( =3.47, S.D. = 0.97) และลำดับสุดท้ายคือ ด้านโบราณสถานโบราณวัตถุ ( =3.38, S.D. = 1.06)
Article Details
References
ธิดา สาระยา. ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : ประวัติศาสตร์ที่สำคัญกับสังคมมนุษย์. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ,2539.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น,2535.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. การศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2549.
เยาวลักษณ์ ชื่นอารมณ์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E. ปริญญานิพนธ์ สาขาการมัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ,2549.
วชิรวิชญ์ ทองคำ. การศึกษาการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต3 (นนทบุรี). ปริญญานิพนธ์. สาขาการวัดผลการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,2555.
สุรางค์ โค้วตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2533.