แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวกาแฟพิเศษ ของชุมชนผู้ปลูกกาแฟ ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ ใช้การวิจัยเชิงเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บข้อมูล โดย ใช้แบบประเมิน องค์ประกอบแหล่งท่องเที่ยว รวม 7 ด้าน ประกอบด้วย 1) คุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว 2) ความสะดวกในการเข้าถึง 3) สิ่งอำนวยความสะดวก 4) สภาพแวดล้อม 5) ข้อจำกัดในการรองรับนักท่องเที่ยว 6) ความมีชื่อเสียง 7) การจัดการไร่กาแฟพิเศษ เป็นแบบประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพความพร้อมของชุมชนผู้ปลูกกาแฟในตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง สู่การส่งเสริมอุตสาหกรรมกาแฟพิเศษ ประเมินและเก็บข้อมูลโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่าน ลงพื้นที่เก็บข้อมูล โดยการสำรวจและประเมินศักยภาพความพร้อมของชุมชนผู้ปลูกกาแฟใน ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จำนวน 2 หมู่บ้าน 1) บ้านแม่แจ๋ม 2) บ้านป่าเหมี้ยง เพื่อนำข้อมูลที่ได้ มาศึกษาและจัดทำแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวกาแฟพิเศษ ของชุมชนผู้ปลูกกาแฟ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติพื้นฐาน (ค่าเฉลี่ย) นำเสนอข้อมูลในรูปแบบตารางผลการประเมิน ผลการการประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว ในภาพรวมพบว่า ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว บ้านแม่แจ๋ม อยู่ในระดับควรปรับปรุง ค่าเฉลี่ย = 2.14 และบ้านป่าเหมี้ยง อยู่ในระดับปานกลางค่าเฉลี่ย =2.69 ผลการการประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในแต่ละด้าน พบว่า
- ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวบ้านแม่แจ๋ม ด้านคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว มีผลการประเมินอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ย = 4.05 ด้านความมีชื่อเสียงผลการประเมินอยู่ในระดับดีปานกลาง ค่าเฉลี่ย = 3.14 ด้านสภาพแวดล้อมผลการประเมินอยู่ในระดับควรปรับปรุง ค่าเฉลี่ย = 1.83 และมีผลการประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ในระดับต่ำ รวม 4 ด้านคือ 1) ด้านความสะดวกในการเข้าถึง ค่าเฉลี่ย = 1.68 2) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกค่าเฉลี่ย = 1.57 3) ด้านข้อจำกัดในการรองรับนักท่องเที่ยวค่าเฉลี่ย =1.43 และ 4) การจัดการไร่กาแฟพิเศษค่าเฉลี่ย = 1.31
- ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวบ้านป่าเหมี้ยง ด้านคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยวมีผลการประเมินอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ย = 3.90 ด้านความมีชื่อเสียงผลการประเมินอยู่ในระดับดีปานกลาง ค่าเฉลี่ย = 3.10 และมีผลการประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ในระดับควรปรับปรุง รวม 5 ด้านคือ 1) ด้านความสะดวกในการเข้าถึง ค่าเฉลี่ย = 2.57 2) ด้านสภาพแวดล้อมค่าเฉลี่ย =2.31 3) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกค่าเฉลี่ย = 2.02 4) ด้านข้อจำกัดในการรองรับนักท่องเที่ยวค่าเฉลี่ย =2.31 และ 5) การจัดการไร่กาแฟพิเศษค่าเฉลี่ย = 2.14
Article Details
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 สืบค้นจาก http://www.tourism.go.th/assets/portals/1/files/TTS615-, 2561.
ปาริฉัตร สิงห์ศักดิ์ตระกูล และพัชรินทร์ เสริมการดี. การศึกษาศักยภาพและแนวทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชนบ้านทุ่งมะปรัง อาเภอควนโดนและบ้านโตนปาหนัน อาเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล. วารสารสุทธิปริทัศน์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 83 (กรกฎาคม-กันยายน) 2556.
มนัสสินี บุญมีศรีสง่า. ภาพิมล ปิ่นแก้ว และปาลิณี สกุลตั้งมณีรัตน์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อตลาดฉัตรศิลาในอาเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. เพรชบุรี คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.
มนัส สุวรรณ. นิเวศวิทยากับการพัฒนาเศรษฐกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์โอเดียน สโตร์, 2538.
ระพีพรรณ ทองห่อ และคณะ.อ้างใน ศิริจรรยา ประพฤติกิจ. แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวภายใต้ศักยภาพ และข้อ จากัดของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน. กรุงเทพมหานคร สานักงานคณะกรรมการ, 2549.