การพัฒนาสมรรถนะทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับยุคประเทศไทย 4.0

Main Article Content

ธัญญารัตน์ พรหมสุทธิ์

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการพัฒนาสมรรถนะทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับยุคประเทศไทย 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้เป็น “ประเทศไทย 4.0” เศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม เทคโนโลยี และการบริการระดับสูง เพื่อผลักดันการเติบโตของรายได้ในประเทศให้สูงขึ้น ส่งผลให้ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องมีการปรับเปลี่ยนการทำงานและต้องมีการพัฒนาสมรรถนะทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพสูงและทักษะด้านดิจิทัลมากยิ่งขี้น ในด้านความรู้ (Knowledge) คือ ความรู้เฉพาะด้านของบุคคล ด้านทักษะ (Skill) คือ สิ่งที่ต้องการให้ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดจาการฝึกปฏิบัติเป็นประจำจนเกิดความชำนาญ ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเอง (Attribute) คือ ทัศนคติ ค่านิยม และความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนหรือสิ่งที่บุคคลเชื่อว่าตนเองเป็น ด้านบุคลิกลักษณะประจำตัวของบุคคล (Traits) เป็นสิ่งที่อธิบายถึงบุคคลนั้น และด้าน แรงจูงใจ (Motives) คือ สิ่งที่ทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมที่มุ่งไปสู่เป้าหมายหรือมุ่งสู่ความสำเร็จ เพื่อนำไปพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เนื่องจาก “คน” เป็นทรัพยากรที่สำคัญขององค์การที่จะต้องมีการพัฒนาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ให้เกิดความรู้ ความสามารถ นำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงานควบคู่กันไป โดยมีวิธีการพัฒนาในกิจกรรมต่าง ๆ เช่นการฝึกอรม การให้ความรู้หรือวิธีการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและทัศนคติ ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรนั้น ๆ มีขีดความสามารถในการปฏิบัติงานสูงขึ้นทันต่อความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคประเทศไทย 4.0

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงานยุทธศาสตร์. กระทรวงอุตสาหกรรม,ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). 2559.

ก้องเกียรติ ลึกนุช. การจัดการความรู้กับสมรรถนะบุคลากรของกรมช่างโยธาทหารเรือ กองทัพเรือ. วิทยานิพนธ์นี้เป็นสาระสาคัญของการศึกษาหลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, 2561.

ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี และจินตกานด์ สุธรรมดี. การประยุกต์ใช้สมรรถนะ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ปีที่11ฉบับที่1 มกราคม – มิถุนายน, 2560. หน้า 262.

ฐิติพัฒน์ พิชญธาดาพงษ์. ยุทธวิธีการใช้ระบบสมรรถนะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพื่อผลักดันองค์กรสู่ ความเป็นเลิศเหนือคู่แข่ง. วารสารดารงราชานุภาพ. (กรกฏาคม – กันยายน 2549), หน้า 33-34.

ดาเนิน หมายดี และ วิไลวรรณ ปันวัง. กลยุทธ์แนวพุทธกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารมหาจุฬาฯ วิทยาเขตแพร่. ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 (มกราคม–มิถุนายน 2562), หน้า 8-9.

นิสดารก์ เวชยานนท์, Competency Based Approach, กรุงเทพมหานคร: กราฟิโก ซิสเต็มส์, 2549.

ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2559.

สกล บุญสิน. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระบบการคมนาคมขนส่งทางรางของไทย. วารสารรัฐประศาสน ศาสตร์, 15(2) (กรกฎาคม-ธันวาคม), 2560, หน้า 82-83.

สถาบันดารงราชานุภาพ สานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. Competency: เครื่องมือในการบริหารแบบมุ่ง ผลสัมฤทธิ์ . เอกสารความรู้ สดร, 2553.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. ไขรหัส "ประเทศไทย 4.0" สร้างเศรษฐกิจใหม่ ก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง.หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 2 พฤษภาคม2559. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564จากเว็บไซต์ https://www.thairath.co.th/content/613903.

สานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. การปรับใช้สมรรถนะในการบริหารทรพยากรมนุษย์. เอกสาร ประกอบการสัมมนาเรื่องสมรรถนะข้าราชการ, พ.ศ.2548.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. Career development in practice. กรุงเทพมหานคร. เอช อาร์ เซ็นเตอร์. 2547.