การลดค่าใช้จ่ายในงานประเพณีแห่ครัวตานล้านนาเพื่อสร้างคุณค่า และความหมายที่เหมาะสมกับชุมชน โดยกลุ่มผู้สูงอายุบ้านท่าขัว ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

Main Article Content

พระครูสังฆรักษ์ศุภณัฐ ภูริวฑฺฒโน

บทคัดย่อ

               งานวิจัยการลดค่าใช้จ่ายในงานประเพณีแห่ครัวตานล้านนาเพื่อสร้างคุณค่าและความเหมาะที่เหมาะสมกับชุมชน โดยกลุ่มผู้สูงอายุบ้านท่าขัว ตาบลบ่อแฮ้ว อาเภอเมือง จังหวัดลาปาง มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อทบทวนค่าใช้จ่าย คุณค่า ความหมาย องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับประเพณีแห่ครัวตานล้านนาบ้านท่าขัว 2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของประเพณีแห่ครัวตานล้านนาบ้านท่าขัวจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และ 3. เพื่อฟื้นฟูประเพณีแห่ครัวตานล้านนาล้านนาในความหมายใหม่ที่เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน
               งานชิ้นนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเพณี วัฒนธรรมของชุมชนบ้านท่าขัวที่เป็นเครื่องมือเชื่อมโยงกลุ่มคนในชุมชนให้เกิดความรักสามัคคี โดยมีประเพณีที่เกี่ยวข้องในทางพุทธศาสนา คือ ประเพณีแห่ครัวตาน หรือ การถวายเครื่องไทยทาย ซึ่งเป็นประเพณีที่คนท้องถิ่นภาคเหนือ หรือ ล้านนา จัดขึ้นเนื่องในโอกาสที่หมู่บ้านนั้นมีงานเทศกาลสาคัญ เช่น งานตานสลากภัตร งานฉลองโบสถ์ วิหาร ศาลา หรือถาวรวัตถุที่เป็นสาธารณประโยชน์ของหมู่บ้าน โดยการแห่ครัวตานจะเป็นประเพณีที่ชาวบ้านนาเอาสิ่งของ เครื่องอุปโภค บริโภค วัสดุอุปกรณ์ จตุปัจจัยไทยทาน ที่ช่วยกันคิดและทาขึ้นเป็นรูปแบบต่าง ๆ นาไปถวายวัดในหมู่บ้านของตนหรือหมู่บ้านใกล้เคียง เมื่อกาลเวลาแปรเปลี่ยนไปในการจัดงานแต่ละครั้ง มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ความรู้ภูมิปัญญาถูกลดทอนบทบาทและแทนที่ด้วยค่านิยมใหม่ ที่เน้นความสะดวก รวดเร็ว แต่บทบาทในการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกลับค่อย ๆ เลือนหายไป ประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ยิ่งทาให้กลุ่มผู้สูงอายุมีความกังวล หากยังคงไว้ซึ่งแนวทางของการสืบสานประเพณี วัฒนธรรมในรูปแบบเดิมกับบริบททางสังคมของคนในชุมชนที่เปลี่ยนแปลงไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา อินทรสุนานนท์. ”เพลงพื้นบ้าน”. สารานุกรมศึกษาศาสตร์ ฉบับที่ 12 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาศึกษา, 2536
เชื่อม ทองภู่ และคณะ. “โครงการฟื้นฟูและสืบทอดศิลปะการแสดงลิเกป่า ตาบลปากหมาก อาเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี”. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น, 2550
ดาวรุ่ง แซ่โคว้ และคณะ. “การปรับใช้ประเพณียัวไดเพื่อฟื้นวิถีชีวิตชุมชนตาบลโคกเพชร อาเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ”. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น, 2557
เทศบาลตาบลบ่อแฮ้ว. “สภาพทั่วไป”. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2562. จากเว็ปไซต์ https://www.tbouhaew.go.th/home
นุสวรรณ สินเจิมศิริและคณะ. “การสืบค้นภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเด็ก. เยาวชนกับชุมชน บ้านเหนี่ยง ตาบลบวกค้าง อาเภอสันกาแพง จังหวัดเชียงใหม่”. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น, 2559
พายุ ภูคาวงษ์. “ศึกษาคุณค่าของความเชื่อที่ปรากฏในพิธีกรรมการบูชาประปรางค์กู่แก้วของชาวพุทธ อาเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี”. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2557
แสวง ปวงจักรทา และคณะ. “การประยุกต์หลักศาสนธรรมเพื่อการฟื้นฟูการมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชนของคนในหมู่บ้านใต้ร้อง”. งานวิจัย. สานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.), 2559
องค์การบริหารส่วนตาบลบ่อแฮ้ว. สภาพทั่วไป. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2562. จากเว็ปไซต์ http://www.bohae.go.th/products.html