การศึกษาศักยภาพของชุมชนเพื่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา ตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การศึกษาศักยภาพของชุมชนเพื่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา ตาบลวังทอง อาเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนในด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2.เพื่อค้นหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลศักยภาพชุมชนในด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นต่อศักยภาพของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนบ้านโรงบ่มโดยรวม ทั้ง 13 ด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ( ̅ = 4.51, SD.=0.52) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ( ̅ = 4.64, SD.=0.46) รองลงมาเป็นด้านศิลปวัฒนธรรม ( ̅ = 4.58, SD.=0.48) รองลงมาเป็นด้านการเกษตร ( ̅ = 4.56, SD.=0.50) รองลงมาเป็นสภาพเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน ( ̅ = 4.55, SD.=0.49) รองลงมาลักษณะสภาพแวดล้อมของชุมชน ( ̅ = 4.53, SD.=0.50) รองลงมาเป็นความสมบูรณ์และความมีชื่อเสียงของแหล่งท่องเที่ยว ( ̅ = 4.51, SD.=0.52) รองลงมาเป็นด้านการให้ความรู้และสร้างจิตสานึกในคุณค่าของการท่องเที่ยว ( ̅ = 4.53, SD.=0.52) รองลงมาเป็นด้านการมีส่วนร่วมในแหล่งท่องเที่ยว ( ̅ = 4.51, SD.=0.51) รองลงมาเป็นความเข้มแข็งของชุมชนและวัฒนธรรม ( ̅ = 4.50, SD.=0.53) รองลงมาเป็นสภาพภูมิศาสตร์หรือด้านกายภาพของชุมชน ( ̅ = 4.48, SD.=0.52) รองลงมาเป็นด้านการบริหารและจัดการ ( ̅ = 4.46, SD.=0.56) รองลงมาเป็นด้านการแก้ปัญหาของชุมชน ( ̅ = 4.43, SD.=0.6) และด้านความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน ( ̅ = 4.37, SD.=0.60) จากข้อมูลการวิเคราะห์ผลการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สามารถสังเคราะห์ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านโรงบ่ม ของชุมชนและข้อมูลระหว่างจากการลงพื้นที่วิจัยภาคสนาม เนื่องจากกระบวนการสารวจพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล ได้รับความร่วมมือจากหัวหน้าชุมชนในการนาคณะผู้วิจัยทาการสารวจแหล่งท่องเที่ยวทั้งเชิงธรรมชาติและเชิงประวัติศาสตร์ พบว่า ด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สาคัญในลาดับแรกคือ 1) ศักยภาพในการดึงดูดใจนักท่องเที่ยวของชุมชน 2) ศักยภาพการบริหารจัดการด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว 3) ศักยภาพของนโยบายและเป้าหมายของการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม 4) ศักยภาพความพร้อมและแนวทางในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ 5) ศักยภาพทางกายภาพและการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน ซึ่งการกระจัดกระจายของข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่นั้นไม่มีสื่อในการให้ความรู้และประชาสัมพันธ์แบบองค์รวมทั้งชุมชน นักวิจัยจึงได้รวบรวมชุดข้อมูลของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและพัฒนาจัดทาแผนที่แหล่งท่องเที่ยวชุมชนบ้านโรงบ่ม ซึ่งเป็นการผนวกแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ทั้งหมดของพื้นที่วิจัย และได้สังเคราะห์ข้อมูลประวัติของแหล่งท่องเที่ยวสาคัญในพื้นที่ พร้อมรูปภาพปัจจุบัน ระบุลงในระบบการบ่งชี้พิกัดทางภูมิศาสตร์ (GPS) และแสดงผลโดยการสแกนในรูปแบบ QR Code เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงและเพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวสมัยใหม่ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพต่างสะท้อนให้เห็นได้ว่า ชุมชนบ้านโรงบ่มและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจและเล็งเห็นความสาคัญของการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชน เพราะเห็นว่าเป็นแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่มีความยั่งยืน สร้างความภาคภูมิใจให้กับคนในท้องถิ่นและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาของยุทธศาสตร์ท้องถิ่น
Article Details
References
กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ และ ศรันยา แสงลิ้นสุวรรณ. การท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน. วารสารนักบริหาร, 32(4). หน้า 139-146, 2555.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. การศึกษาแนวโน้มและทิศทางการท่องเที่ยวในปี พ.ศ.2563: Thai Tourism Scenario in 2020. กรุงเทพมหานคร: กองวิจัยการตลาดและฝ่ายวางแผน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2563
นงลักษณ์ จันทากุล และนรินทร์ สังข์รักษา. การศึกษาศักยภาพในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนบ้านหัวเขาจีนจังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยบริการ, 24(2), หน้า 197-198, 2556.
บุณยสฤษฏ์ อเนกสุข. ยล เยี่ยม เยือน เหย้า: แนวคิดและทฤษฎีว่าด้วยการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. พิษณุโลก สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2558
รัชนี เพ็ชร์ช้าง. รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติลาน้าน่าน อาเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยความร่วมมือขององค์กรท้องถิ่นและชุมชน, วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 4(4), หน้า 91-92, 2555.