ศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาเชิงบูรณาการตามแนวชายแดนไทย กัมพูชา ในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน: กรณีศึกษาพื้นที่สองตาบลในเขตทุ่นระเบิดของจังหวัดจันทบุรีและตราด

Main Article Content

กนกวรรณ อยู่ไสว
จำลอง แสนเสนาะ
พรทิวา อาชีวะ

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาและปัจจัยเชิงบริบทที่มีผลต่อศักยภาพของชุมชน ในเขตทุ่นระเบิดตามแนวชายแดนไทย กัมพูชาบริเวณจังหวัดจันทบุรีและตราดช่วงการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน วิธีวิทยาที่ใช้ในงานวิจัยนี้เป็นวิธีวิทยาเชิงคุณภาพแนวกรณีศึกษา โดยอาศัยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์ในเชิงคุณภาพ และการสังเกตการณ์ ข้อค้นพบจากการศึกษาพบว่า ชุมชนยังไม่มีความสามารถในการเก็บกู้ทุ่นระเบิด แต่มีศักยภาพทางด้านการวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนา การแสวงหาทางเลือกในการพัฒนา การพร้อมที่จะวางแผนการพัฒนา รวมถึงการติดตามและประเมินโครงการพัฒนา เนื่องจากชุมชนมีความพร้อมในการใช้ทุนทางวัฒนธรรมและทุนทางสังคม ความคาดหวังที่จะประสานทุนทางเศรษฐกิจจากองค์กรภายนอกชุมชน การเห็นประโยชน์ร่วมกันของชุมชนในการพัฒนาพื้นที่ชายแดน ตลอดจนถึงการมีองค์กรกลางที่เป็นเวทีเครือข่ายในการขับเคลื่อน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วสุ ชนะรัตน์. “ภาพอนาคตและแนวโน้มของการบริหารจัดการทุ่นระเบิด”, ใน เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทาแผนยุทธศาสตร์เครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตยสภา ภาคตะวันออก, วันที่ 16 ตุลาคม 2558. จังหวัดจันทบุรี. เอกสารอัดสาเนา.
วสุ ชนะรัตน์. สัมภาษณ์โดย พรทิวา อาชีวะ. มหาวิทยาลัยราชภัฎราไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี. 17 พฤษภาคม 2558.
วิบูลย์ ตรีกัน. การวางแผนแบบมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2539
ศูนย์ปฏิบัติการสารวจ และองค์กรเพื่อความช่วยเหลือแห่งชาวนอร์เวย์, 2544, หน้า 7 8.
เอกสารการประชุมสรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลความเดือดร้อนจากภัยทุ่นระเบิด ตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา (2554). 1 กันยายน 2554. กรุงเทพมหานคร. เอกสารอัดสาเนา.
เอกสารประกอบการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเติมเต็มความรู้ โครงการศึกษาการเตรียมความพร้อมด้านความรู้และผลกระทบที่ชุมชนท้องถิ่นได้รับจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. 18 พฤษภาคม 2555. จังหวัดจันทบุรี. เอกสารอัดสาเนา. หน้า 1 – 2.