กระบวนการธารงอัตลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาของชาวไทใหญ่ ในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ณฤณีย์ ศรีสุข

บทคัดย่อ

               อัตลักษณ์ของชาวไทใหญ่เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรม เมื่อมีการปรับเปลี่ยนวิถีทางประเพณีพิธีกรรม และความเชื่อของชาวไทใหญ่ ในมิติที่สัมพันธ์กับปัจจัยด้านแผนนโยบายท่องเที่ยว สังคม และเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ของชาวไทใหญ่ก็ปรับเปลี่ยนไปในลักษณะต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นการปรับตัวตนทางอัตลักษณ์สู่สังคม และวัฒนธรรมภายนอกด้วย การแสดงออกถึงอัตลักษณ์ใหม่ในการเป็นส่วนหนึ่งของรัฐไทยผ่านประเพณีพิธีกรรม รวมถึงการผลิตซํ้า สร้างใหม่ หรือฟื้นฟูทางประเพณี สำหรับอัตลักษณ์ทางประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อทางพระพุทธศาสนาของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ จะมีประเพณี 12 เดือน หรือที่เรียกว่าฮีต 12
              อัตลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ มี 6 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านศาสนธรรม (2) ด้านศาสนบุคคล (3) ด้านศาสนิกชน (4) ด้านศาสนสถาน (5) ด้านศาสนวัตถุ และ (6) ด้านศาสนาพิธี ซึ่งอัตลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้ง 6 ด้าน ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เมื่อนำมาวิเคราะห์กระบวนการธำรงอัตลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ มีกระบวนการดำรงอัตลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา 5 กระบวนการ ได้แก่ (1) กระบวนการทำให้วัดกลายเป็นพื้นที่สาธารณะทางพระพุทธศาสนา (2) กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวไทใหญ่ (3) กระบวนการหล่อหลอมอัตลักษณ์ และกระบวนการขัดเกลาทางสังคมจากสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบันศาสนา (4) กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนาผ่านการเขียนตำรา และหนังสือต่าง ๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา และ (5) กระบวนการใช้สื่อและเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการเผยแผ่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ติดกร สอนภาษา. “ภาษาไทย ขัดใจปู่”. ออนไลน์. แหล่งที่มา:http://www.nationejobs.com. 5 พฤศจิกายน 2563
นัทธนัย ประสานนาม. “เพศชาติพันธุ์ และปัญหาเกี่ยวกับอัตลักษณ์ ในภาพยนตร์เรื่อง Touch of Pink.” ออนไลน์. แหล่งที่มา: http://www.midnightuniv.org/midnight2545/document95248.html
5 พฤศจิกายน 2563.
ปณิธิ อมาตยกุล. การย้ายถิ่นของชาวไทใหญ่เข้ามาในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2547.
ประเวศ วะสี. “พลังท้องถิ่นในกระแสความเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม”. ในโครงการเวทีวิชาการ วัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์องค์การ รับส่งและพัสดุภัณฑ์, 2545.
ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. “อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ และความเป็นชายขอบ”. กรุงเทพมหานคร ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร, 2546.
ฝนวัน จันทร์ ศรีจันทร์. “การเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ของคนในเมืองประวัติศาสตร์กรณีศึกษาเมืองประวัติศาตร์พิมาย”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543.
พรรณิดา ขันธพันธ์. “การปรับเปลี่ยนวิถีทางประเพณีพิธีกรรม ความเชื่อและอัตลักษณ์ของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่”. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 23 ฉบับที่ 41 (มกราคม
เมษายน 2558). หน้า 179 199.
พัชรินทร์ ม่วงงาม. “การธำรงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมชาวมอญ กรณีศึกษาหมู่บ้านศาลา แดงเหนือ จังหวัดปทุมธานี”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2547.
วิศิษฐ์ วังวิญญ และคณะ. “โยงใยที่ซ่อนเร้น The Hidden Connection” พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร แปลนพริ้นดิ้ง จำกัด, 2553.
ศรีศักร วัลลิโภดม. “ไทยน้อย ไทยใหญ่ ไทยสยาม”. กรุงเทพมหานคร มติชน, 2544.
สายสม ธรรมิ. “ลายสักไทใหญ่”, เชียงใหม่ สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2538.
อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. “อัตลักษณ์การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด”. กรุงเทพมหานคร คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา, 2546.
Amporn Jirattikorn. “Home of the Housekeeper: Will Shan Migrants Return after a Decade of Migration?”, In Su – Ann Oh (ed.), Borders and the State of Myanmar: Space, Power and Practice. (Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 2015). (Forthcoming)