รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูตามหลักกัลยาณมิตรธรรม ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 4

Main Article Content

พระมหาสุวรรณ สุวณฺโณ
พระมหาอุดร อุตฺตโร
พระราช วชิรเมธี

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพสมรรถนะหลักของครูในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 4 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูตามหลักกัลยาณมิตรธรรมในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลีในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 4 และ 3) ประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูตามหลักกัลยาณมิตรธรรมในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 4 โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพสมรรถนะหลักของครูในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี จานวน 331 รูป โดยใช้สถิติ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จานวน 17 รูป/คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูตามหลักกัลยาณมิตรธรรมในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี โดยผู้เชี่ยวชาญร่วมสนทนากลุ่มเฉพาะ จานวน 9 รูป/ คน แล้วนามาวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูตามหลักกัลยาณมิตรธรรมในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยผู้เชี่ยวชาญ จานวน 17 รูป/คน
              ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพสมรรถนะหลักของครูในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 4 มี 5 ด้าน ได้แก่ 1) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน 2) การบริการที่ดี 3) การพัฒนาตนเอง 4) การทางานเป็นทีม และ 5) จริยธรรม และ จรรยาบรรณในวิชาชีพ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการพัฒนาตนเอง อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านที่ค่าเฉลี่ยต่าสุด ได้แก่ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก
              2. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูตามหลักกัลยาณมิตรธรรมในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 4 พบว่า 1) ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 2) ด้านการบริการที่ดีตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 3) ด้านการพัฒนาตนเองตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 4) ด้านการทางานเป็นทีมตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 5) ด้านจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครูตามหลักกัลยาณมิตรธรรม
             3. ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูตามหลักกัลยาณมิตรธรรมในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 4 พบว่า รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูตามหลักกัลยาณมิตร มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และมีประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประทีป พืชทองหลาง. รูปแบบการปรึกษาเชิงพุทธตามหลักกัลยาณมิตร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2557
ประมูล สารพันธ์ และอินถา ศิริวรรณ. การศึกษาแนวทางการพัฒนาการศึกษาของคณะสงฆ์. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2550
พระครูปลัดสมชาย อภิวณฺโณ (เฮาลี้). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสาเร็จในการบริหารจัดการสานักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 1. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2559
มนสภรณ์ วิฑูรเมธา. การพัฒนาระบบกัลยาณมิตรเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษาพยาบาล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
สมชาย ไมตรี. การศึกษาของพระสงฆ์ในประเทศไทย: กรณีศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี. งานวิจัยค้นคว้าอิสระ. สานักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ, 2553
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. คู่มือการประเมินสมรรถนะครู. เอกสารอัดสาเนา. พ.ศ. 2553, หน้า 2