รูปแบบบริหารการพัฒนาครูเพื่อสร้างนักเรียนให้เป็นคนดี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการสอนของครูเพื่อสร้างนักเรียนให้เป็นคนดี ศึกษากลุ่มเสี่ยงและปัจจัยปกป้องของครูผู้สอนนักเรียนให้เป็นคนดี และพัฒนารูปแบบบริหารการพัฒนาครูเพื่อสร้างนักเรียนให้เป็นคนดี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือครูในโรงเรียนระดับการศึกษาพื้นฐานสังกัดจังหวัดปราจีนบุรี 360 คน เลือกจากประชากรโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัย เป็นแบบวัดมาตรประมาณรวมค่า จานวน 10 แบบวัด มีค่าความสัมพันธ์รายข้อกับทั้งฉบับ ตั้งแต่ .20 ถึง .803 มีค่าความเที่ยง (α) ตั้งแต่ .731 ถึง .899 และยังมีแบบประเมินสาหรับผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติสาคัญที่ใช้ทดสอบสมมุติฐานคือ สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และ การวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยเชิงสาเหตุอธิบายพฤติกรรมของครูในการสอนนักเรียนให้เป็นคนดี ในพฤติกรรมย่อย ได้ร้อยละ 31.2 ถึง 36.4 ในพฤติกรรมรวมได้ร้อยละ 44.5 กลุ่มเสี่ยงในพฤติกรรมการสอนของครูเพื่อสร้างนักเรียนให้เป็นคนดี คือ ครูที่มีวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรี และ ครูที่สังกัดพื้นที่การศึกษาเขต 1 จิตลักษณะเด่นที่เป็นปัจจัยปกป้องของกลุ่มเสี่ยง คือ ความเชื่ออานาจในตน และทัศนคติต่อความเป็นครู การวิจัยยังพบว่า รูปแบบการบริหารการพัฒนาครูเพื่อสร้างนักเรียนให้เป็นคนดี ประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผ่านเกณฑ์การประเมินรายด้านและรวม ร้อยละ 70/75 ผลวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร ผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครู และครูที่ต้องการพัฒนาตนเอง ในด้านการพัฒนาครูเพื่อสอนนักเรียนให้เป็นคนดี
Article Details
References
จิราพร เซ็นหอม. การบริหารรูปแบบการพัฒนาการพึ่งตนเองของนักเรียนการศึกษานอกโรงเรียน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา. กรุงเทพมหานคร, 2562
ฉวีวรรณ เอี่ยมพญา. บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทางานของครูในโรงเรียนสังกัด สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากรม, 2560
ดวงดาว บุญกอง. วัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร สังกัดสานักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2553
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมสาหรับคนไทย: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต.สานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร, 2548
ตวงทอง สังข์แก้ว. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ การเชื่ออานาจควบคุมตนเอง การสนับสนุนทางสังคมกับความเครียด: กรณีศึกษาครูระดับมัธยมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2550
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. หลักธรรมในพระราชา. พิมพ์ครั้งที่ 6. (ธรรมกถาปาฐกถา ณ อุโบสถวัดญาณเวศกวัน). ราชกิจจานุเบกษา สานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, 2561
วรเทพ เวียงแก. ทัศนคติของครูที่มีต่อการดาเนินงานตามโรงเรียนวิถีพุทธ: ศึกษาเฉพาะ กรณีอาเภอหนองเรือ สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2555
ศิวกานต์ ธิมาชัย. ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการพัฒนาตนให้รอบรู้ของข้าราชการครู สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏยโสธร, 2550
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี. แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา/แผนปฏิบัติการ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี. ปราจีนบุรี: กระทรวงศึกษาธิการ, 2558
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. นโยบายสานักงานคณะกรรมการ. การศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ, 2562
สานักปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพมหานคร, 2561
สานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. นโยบายของคณะรัฐมนตรี. กรุงเทพมหานคร : สานักนายกรัฐมนตรี, 2562
สิริพร บุญพา. การบริหารรูปแบบการพัฒนาความพอเพียงของนักเรียน กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยพะเยา, 2562
สุนันทา แก้วสุข. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับจริยธรรมของนักศึกษาครู. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550
สุรชัช จันทร์ส่อง. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญของครูสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2550
อมรรัตน์ ห่อพร่าม. ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของข้าราชการครู สังกัด สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2559
อาภาพรรณ กันคล้อย. ทัศนคติของครูที่มีต่อบทบาทในการปลูกฝังค่านิยมเชิงจริยธรรมและคุณธรรมให้แก่นักเรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาในอาเภอบางเสาธงจังหวัดสมุทรปราการ, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552
Magnusson & Endler. The interaction model of anxiety, An empirical test in an Examination situation. Canadian Journal of Behavioral Science/Revue canadienne des sciences du comportment, 9(2), 1977, pp 101–107,
Nation, M., Crusto, C., Wandersman, A., Kumpfer, K. L., Seybolt, D., Morrissey-Kane, E., & Davino, K. What works in prevention: Principles of effective prevention programs. American Psychologist, 58, 2003. Pp. 449–456. doi:10.1037/0003-066X.58.6-7.449