ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับศาลเจ้าของชุมชนตำบลย่านยาว อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

นันทยา คงประพันธ์
สุภาวดี เผือกฟัก
พรทิพย์ ช่วยเพล

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับศาลเจ้าของชุมชนตำบลย่านยาว อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) มีการเก็บข้อมูลโดยใช้การสังเกต สัมภาษณ์เชิงลึก และบันทึกภาพ ซึ่งนาข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ และนาเสนอผลการวิจัยโดยการพรรณนาวิเคราะห์
              ผลการศึกษาพบว่า ศาลเจ้าชุมชนมีความสัมพันธ์กับระบบความเชื่อของประชาชนชุมชนย่านยาว ซึ่งประชาชนในชุมชนย่านยาวเชื่อว่าศาลเจ้าชุมชน สามารถดลบันดาลในสิ่งที่พวกเขาปรารถนาในด้านต่างๆ ให้สาเร็จได้ เช่น อาชีพ การศึกษา โชคลาภ สภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม และโรคภัยไข้เจ็บ ฯลฯ ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ส่งผลให้เกิดพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาลเจ้าคือ พิธีกรรมขึ้นศาลประจาปี โดยยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เพราะประชาชนเชื่อว่าการประกอบพิธีกรรมต่อศาลเจ้าอย่างถูกวิธีนั้น เจ้าพ่อหรือเทวดาที่สถิตย์อยู่ที่ศาลเจ้าสามารถดลบันดาลให้พวกเขาประสบความสาเร็จได้ ความเชื่อและพิธีกรรมที่ปรากฏ ณ ศาลเจ้าชุมชนสะท้อนถึงรูปแบบการดาเนินชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในชุมชนย่านยาวในด้านต่างๆ เช่น ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจและด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น นอกจากนี้ ยังพบว่า ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับศาลเจ้าของชุมชนก่อให้เกิดความสามัคคีของคนในชุมชน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ซึ่งผู้วิจัยถือว่าการมีอยู่ของศาลเจ้าสะท้อนให้เห็นถึงคติความเชื่อที่เข้มแข็งของคนในชุมชนย่านยาว บรรพบุรุษได้ใช้พิธีกรรมเป็นเครื่องมือในการอบรมสั่งสอนลูกหลาน ทาให้ชุมชนมีระเบียบวินัยและความสงบสุขมากขึ้น อันจะนาไปสู่การกันอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบทอดต่อไปสาหรับคนรุ่นหลัง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ยุทธนา กิจสุภี. วิเคราะห์ความเชื่อ ความศรัทธา และพิธีกรรมของประชาชนที่มีต่อศาลเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคาแหง, 2559
สุทัศน์ คล้ายสุวรรณ์. การศึกษาคาบวงสรวงในประเพณีและพิธีกรรมทางล้านนาที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตของประชาชนในจังหวัดเชียงราย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 7 (13), 2556
อภิวัฒน์ สุธรรมดี. การศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อและพิธีกรรมบูชาเจ้าแม่งูจงอางเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.10(2).2559
อาหมัดอัลซารีย์ มูเก็ม. ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ ที่มีความสัมพันธ์ต่อวิถีชีวิตของชนกลุ่มชาติพันธุ์เขมรบน พื้นที่บ้านจารย์ อาเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. ประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาวิชาบัณฑิตอาสาสมัคร.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559
สุภาภรณ์ แซ่ลิ้ม และชัยรัตน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. การดารงอยู่ การปรับตัว และการสืบทอดของศาลเจ้าจีนกวนอิมปุดจ้อในบ้านควนงาช้าง ตาบลบางดีอาเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 12(2), 2560
พิทักษ์ ศิริวงศ์ ขวัญทิวา ผิวผาด และกุลธีรา อุดมพงศ์วัฒนา. ความเชื่อ การบนบานและการใช้ของแก้บนศาลเจ้าแม่นมสาว เกาะนมสาว ตาบลสามร้อยยอด อาเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. การประชุมวิชาการนาเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 6 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 2555