การพัฒนาศักยภาพมรดกทางประวัติศาสตร์ของเมืองเก่าสงขลาเพื่อเพิ่มมูลค่าในรูปแบบของการท่องเที่ยวเมืองเก่า

Main Article Content

พาฝัน นิลสวัสดิ์ ดูฮาเมลน์

บทคัดย่อ

               งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวสาคัญในเขตพื้นที่เมืองเก่าสงขลาใน 3 องค์ประกอบคือ ด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว และด้านสิ่งอานวยความสะดวก 2. แนวทางในการพัฒนาศักยภาพมรดกทางประวัติศาสตร์ของเมืองเก่าของจังหวัดสงขลาไปสู่การเพิ่มมูลค่าด้านการท่องเที่ยวเมืองเก่า การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสารวจพื้นที่และการสนทนากลุ่มย่อยกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาทุกภาคส่วน ผลการศึกษา พบว่า เมืองเก่าสงขลาเป็นเมืองที่มีทุนมรดกทางประวัติศาสตร์ซึ่งปรากฎออกมาในรูปของสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และศิลปวัตถุ สามารถนามาเพิ่มมูลค่าทางด้านการท่องเที่ยวในเชิงประวัติศาสตร์หรือการท่องเที่ยวเมืองเก่าได้เป็นอย่างดี การนามรดกทางประวัติศาสตร์เหล่านี้มาเพิ่มมูลค่าด้านการท่องเที่ยวจาเป็นต้องมีการจัดการด้านองค์ประกอบของการท่องเที่ยวให้พร้อมทั้งด้านการอนุรักษ์บูรณะและพัฒนาแหล่งประวัติศาสตร์รวมถึงบริเวณโดยรอบ การจัดการการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว และการจัดการสิ่งอานวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว การสร้างความพร้อมเหล่านี้จาเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะจากประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่เมืองเก่าทั้งในเรื่องการร่วมอนุรักษ์บูรณะดูแลแหล่งดึงดูดใจทางประวัติศาสตร์ การร่วมดูแลรักษาสิ่งอานวยความสะดวกในรูปแบบต่างๆ ภายในพื้นที่เมืองเก่า และการเคารพในกฎระเบียบที่สร้างขึ้นมาบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในพื้นที่เมืองเก่า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว, แนวทางการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ทางประวัติศาสตร์ และทางวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: สานักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว, 2558
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560,. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการท่องเที่ยวกีฬา, 2558. หน้า 8-10. สืบค้นออนไลน์ https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7114
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา. ประวัติความเป็นมาสงขลา. สืบค้นในเว็บไซด์ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/songkhla/index.php/th/about-us.html
สานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเมืองเก่าในประเทศ, กรุงเทพมหานคร: สานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2554. หน้า 23-24. สืบค้นออนไลน์ http://lib.mnre.go.th/lib/TNE/book1final.pdf
สานักจัดการสิ่งแวดล้อมและศิลปกรรม. การประกาศขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าแล้ว 31 เมือง. สืบค้นออนไลน์ใน http://www.onep.go.th/nced/?p=1194
สานักงานศูนย์วิจัยและให้คาปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. โครงการศึกษา วิเคราะห์ และประเมินความเหมาะสมพื้นที่ทั่วประเทศเพื่อกาหนดเป็นเขตพัฒนาการท่องเที่ยวเพิ่มเติม. รายงานวิจัยสมบูรณ์เสนอกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, มปป.