การเสริมสร้างจิตพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตย ของนักเรียนในจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

สุทธญาณ์ โอบอ้อม

บทคัดย่อ

              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาจิตพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตย
ของนักเรียนในจังหวัดนครปฐม 2. เพื่อพัฒนาจิตพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตยของ
นักเรียนด้วยเชิงพุทธในจังหวัดนครปฐม 3. เพื่อวิเคราะห์การเสริมสร้างจิตพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดีใน
สังคมประชาธิปไตยของนักเรียนในจังหวัดนครปฐม
              โดยใช้ระเบียบวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้การศึกษาวิจัยเชิงสารวจ จาก
กลุ่มตัวอย่าง 358 มีวิธีการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
แบบปฏิบัติการโดยมีวิธีการเก็บข้อมูลด้วยโครงการกิจกรรมทัง้ 4 กิจกรรม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้
ข้อมูลสาคัญ 15 รูป/คน
              ผลวิจัยพบว่า 1. จิตพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตยของนักเรียนในจังหวัด
นครปฐมต้องมีพื้นฐานจิตพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตยของนักเรียน ซึ่งผู้ตอบ
แบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จานวน 219 คน คิดเป็นร้อยละ 61.2 และระดับการศึกษาของผู้ตอบ
แบบสอบถามเป็นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จานวน 241 คน คิดเป็นร้อยละ 67.3 สาหรับพื้นฐานจิตพฤติกรรมการ
เป็นพลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตยของนักเรียนในจังหวัดนครปฐม พบว่า จิตพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่
ดีในสังคมประชาธิปไตยของนักเรียนในจังหวัดนครปฐมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 4.167, S.D =
0.625) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน
               2. การพัฒนาจิตพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตยของนักเรียนด้วยเชิงพุทธใน
จังหวัดนครปฐม โดยใช้หลักภาวนา 4 คือ 1) ด้านกายภาวนาการพัฒนาทางกายหรือสุขภาพ 2) ด้านศีล
ภาวนา การพัฒนาด้านความประพฤติการตั้งอยู่ในระเบียบวินัย และการเคารพความแตกต่าง 3) ด้านจิตภาวนา เป็นการพัฒนาจิตใจให้มีความพร้อมทั้งในด้านคุณธรรม และ 4) ด้านปัญญาภาวนา การฝึกและพัฒนาในการรับรู้
              3. การเสริมสร้างจิตพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตยของนักเรียนในจังหวัดนครปฐม ควรเสริมสร้างจิตพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตยของนักเรียนในจังหวัดนครปฐม ประกอบด้วย บ-ว-ร-ส 1) บ –บ้าน หรือครอบครัว 2) ว –วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน 3) ร –โรงเรียนรวมถึงครูอาจารย์ 4) ส –สังคม สังคมทั้งในระบบออนไลน์และออฟไลน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ญาณภัทร สีหะมงคล. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อจิตอาสาของนักศึกษาอาชีวศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2558), หน้า 479-486.
นพคุณ นิศามณี. จิตวิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2547
ประทีป จินงี่. การพัฒนาจิตสาธารณะของเยาวชนตามแนวพระพุทธศาสนา. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (มกราคม 2558), หน้า 110-134.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535
วัฒนา ไตต่อผล, ภูฟ้า เสวกพันธ์, วารีรัตน์ แก้วอุไร และอมรรัตน์ วัฒนาธร. หลักสูตรเสริมสร้างจิตสาธารณะตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมร่วมกับการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม สาหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2558), หน้า 1-12
วิไลวรรณ ศรีสงคราม. จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ลกรุ๊ป, 2549
สมศักดิ์ ศรีสันติสุข วิยุทธ์ จารัสพันธุ์ และนัฏฐพงศ์ ดวงมนตรี. การปลูกฝังบุคลิกภาพประชาธิปไตยในครอบครัว จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. ปีที่ 10 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2548), หน้า 359-369
สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. การส่งเสริมวิถีประชาธิปไตย ผ่านกิจกรรมค่าย. กรุงเทพมหานคร: สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2544
สุจิตรา วันทองและสิริพันธุ์ สุวรรณมรรค. การวิจัยและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณลักษณะ พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยของนักเรียนประถมศึกษา.วารสารอิเล็กทรอนิกส์ ทางการศึกษา, OJED, Vol.7, No.1, 2012, pp. 1818 – 1829
สุทธิรักษ์ โรจนหัสดิน. เรชา ชูสุวรรณ และเอกรินทร์ สังข์ทอง. หลักการคิดสาคัญของการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ปีที่ 28 ฉบับที่ 1, 2560), หน้า 207-217