บทบาทหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ ประชาชนในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตอาเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และศึกษาหาแนวทางในการพัฒนาหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในด้านบทบาทการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในเขตพื้นที่อาเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จานวน 13 ตาบลๆ ละ 26 ตัวอย่าง รวม 338 ราย ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบ F-test
ผลการวิจัย พบว่า บทบาทของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ได้แสดงความชัดเจนใน 3 บทบาท คือ 1) บทบาทการถ่ายทอดความรู้ ข้อมูลข่าวสารทางการเมือง 2) บทบาทการเป็นเครื่องมือตรวจสอบทางการเมือง และ 3) บทบาทการเป็นพื้นที่ประสานความเข้าใจทางการเมืองเพียงแต่ว่าความสมบูรณ์ของแต่ละบทบาทนั้นจะขึ้นอยู่กับว่าประชาชนจะมีความคิดเห็นและทัศนคติในแต่ละบทบาทอย่างไร โดยภาพรวมความคิดเห็นของประชาชนต่อการทาหน้าที่ของหนังสือพิมพ์ทั้ง 3 บทบาทนั้น อยู่ในระดับปานกลางและหนังสือพิมพ์ทั้ง 5 ฉบับได้ให้ความสาคัญกับการรณรงค์ให้ยุติความขัดแย้งทางการเมือง ส่งเสริมให้เกิดความรัก สามัคคีในสังคม ให้ประชาชนรับทราบข่าวสารโดยรวดเร็ว ถูกต้องในเหตุการณ์ และทาการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง ไร้อคติ และไม่ชี้นา ภายใต้ความกดดันของปัจจัยต่างๆ
Article Details
References
จักษ์ พันธ์ชูเพชร. การเมืองการปกครองไทย "จากยุคสุโขทัยสู่สมัยทักษิณ พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: พั้นช์กรุฟ Punch Group. 2549.
เจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์. ชุติมา หวังเบ็ญหมัด. รัชตา ธรรมเจริญ. สิริลักษณ์ ทองพูน. ปกรณ์ ลิ้มโยธิน. นิวัตน์ สวัสดิ์แก้ว และคณะ. ความพึงพอใจของนักศึกษาในการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ประจาปี 2557. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 7 วันที่ 23 มิถุนายน 2559 ณ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ หน้า 360-370. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. 2559.
ธนโชต ศรีแจ่ม. บทบาทหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขต เทศบาลนครเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. 2555.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎ อุบลราชธานี. 2543.
มนัส นพรัตน์. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการปกครองท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาล ตาบลปากแพรก. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง. กรุงเทพมหานคร. 2541.
รุจิเรข รักวงษ์. บทบาทของหนังสือพิมพ์ที่มีต่อการเรียนรู้ทางการเมือง: ศึกษาเฉพาะกรณีประชาชนในเขต เทศบาลนครเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต การเมืองและการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. 2540.
เลอภพ โสรัตน์. บทบาทสื่อมวลชนกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 5 (3). pp117-129. 2554.
สมควร กวียะ. การสื่อสารมวลชน พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: อักษราพิพัฒน์. 2545.
เสถียร เชยประทับ. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสารทางการเมือง ในสหรัฐอเมริกา, กรุงเทพมหานคร: เอส ดี เพรส. 2540.
สานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจาจังหวัดสงขลา. ข้อมูลประชากรและผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในจังหวัดสงขลา รายอาเภอ. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2562. จากเว็บไซด์ http://www.ect.go.th>songkhla>ewt_news.
เอกชัย แสงโสดา. รายงานการวิจัย เรื่อง “บทบาทของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเพชรบูรณ์ในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลของการปกครองส่วนท้องถิ่น” เพชรบูรณ์: คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชเพชรบูรณ์. 2555.