การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความสามารถในการบริหารจัดการขยะอย่าง สร้างสรรค์ โดยใช้การคิดเชิงออกแบบ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความสามารถในการบริหารจัดการขยะ
อย่างสร้างสรรค์ โดยใช้การคิดเชิงออกแบบ สาหรับนักศึกษาระดับชัน้ มัธยมศึกษาตอนปลาย และเพื่อศึกษา
ผลการใช้หลักสูตรส่งเสริมความสามารถในการบริหารจัดการขยะอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้การคิดเชิงออกแบบ
สาหรับนักศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอน
ปลาย ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 วเิ คราะห์ข้อมูล
โดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t–test)
ผลงานวิจัยพบว่า ผลการพัฒนาหลักสูตรและประเมินคุณภาพหลักสูตรส่งเสริมความสามารถในการ
บริหารจัดการขยะอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้การคิดเชิงออกแบบ สาหรับนักศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอน
ปลาย ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความเป็นมาและความสาคัญของหลักสูตร 2) จุดมุ่งหมายของ
หลักสูตร 3) คา อธิบายรายวิชา 4) โครงสร้างเน้อื หาหลักสูตร/ระยะเวลาเรียนของหลักสูตร 5) ผลการเรียนรู้ 6)
การจัดการเรียนรู้ของหลักสูตร 7) การจัดสภาพแวดล้อม/สื่อและแหล่งเรียนรู้ 8) การวัดและการประเมินผล
ของหลักสูตร 9) เงื่อนไขการนาหลักสูตรไปใช้ ในภาพรวมหลักสูตรมีคุณภาพอยู่ในระดับ มาก ( X = 3.96,
S.D. = 0.60) และในภาพรวมของแผนการจัดการเรียนรู้หลักสูตรส่งเสริมความสามารถในการบริหารจัดการ
ขยะอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้การคิดเชิงออกแบบ สาหรับนักศึกษาระดับชัน้ มัธยมศึกษาตอนปลาย มีคุณภาพ
อยู่ในระดับ มาก ( X = 3.90, S.D. = 0.43) และผลการใช้หลักสูตรส่งเสริมความสามารถในการบริหาร
จัดการขยะอย่างสร้างสรรค์ นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการบริหารจัดการขยะอย่าง
สร้างสรรค์ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนนักเรียนกลุ่ม
ควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการบริหารจัดการขยะอย่างสร้างสรรค์หลังการทดลองและก่อนการ
ทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการบริหารจัดการขยะอย่างสร้างสรรค์ก่อนการทดลองใช้หลักสูตรระหว่าง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
ชนิดา เพชรทองคา และคณะ. การบริหารจัดการขยะและเทคโนโลยีที่เหมาะสมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษา อบต.ไร่ส้ม จ.เพชรบุรี. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, 2559.
ดิเรกฤทธิ์ ทวะกาญจน์. การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมสาหรับเทศบาลนครหาดใหญ่. สารนิพนธ์ รปม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพมหานคร, 2553
พันธ์ยุทธ น้อยพินิจ และคณะ. ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบเรื่อง ภาคตัดกรวย ที่ส่งเสริมความสามารถในการแห้ปัญหาอย่างอย่างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก, 2559.
รัชนีวรรณ ตั้งภักดี. การพัฒนารูปแบบการสอนที่ส่งเสริมสมรรถนะการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อการผลิตสื่อของนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, 2560.
วิภาณี อุชุปัจ. ความรู้ พฤติกรรมในการจัดการขยะของประชาชน และคุณภาพการบริการในการจัดการขยะขององค์การบริหารส่วนตาบลเหล่ายาว อาเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลาพูน. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 2561
สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, 2555, หน้า 2.
สุพรรณี ชาญประเสริฐ. Active Learning การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 2. (ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์). วารสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 42(188), 2557, หน้า 3.
Stanford. Bootcamp Bootleg. 2011. Retrieved November 14, 2014, fromhttp://dschool.stanford.edu/wp-content/uploads/2011/03/Bootcamp Bootleg2010v2SLIM.pdf