การจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านยอดนิยมเพื่อเสริมสร้าง สุขภาพของผู้สูงอายุ เขตภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

พูนทรัพย์ เกตุวีระพงศ์

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research),(Documentary Research) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้ 1. เพื่อรวบรวมวิเคราะห์การจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านยอดนิยมตามหลักโภชนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุเขตภาคเหนือตอนบน 2. เพื่อพัฒนาการจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านยอดนิยมตามหลักโภชนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุ 3. เพื่อประเมินผลการจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านยอดนิยมตามหลักโภชนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุเขตภาคเหนือตอนบน พื้นที่ในการเก็บข้อมูล 4 จังหวัด คือแพร่ ลาปาง พะเยาและเชียงรายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบสอบถาม (questionnaire) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview ) การสนทนากลุ่ม (Focus Groups Discussion) กลุ่มตัวอย่างจานวน 212 คนผลการวิจัย พบว่า
             1. ผลของการศึกษารวบรวมวิเคราะห์การจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านยอดนิยมตามหลักโภชนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุเขตภาคเหนือตอนบน พบว่า ในอดีตการจัดการความรู้ผู้คนในท้องถิ่นล้านนาตอนบนได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้มาอย่างยาวนานในเชิงประจักษ์และเรียนรู้วิธีการปรุงอาหารจากบรรพบุรุษส่งต่อรุ่นสู่รุ่นจากงานประเพณีวิถีชุมชน และการบอกต่อกันมา ในปัจจุบันการจัดการความรู้ คือ การอบรม แผ่นป้ายโปสเตอร์ คลิปวิดีโอเอกสารคู่มืออาหารพื้นบ้าน จากคาบอกเล่า การทดลองเชิงปฏิบัติการเมนูยอดนิยม การได้รับองค์ความรู้จากหน่วยงานภาครัฐ ผ่านสื่อ ในท้องถิ่น ผ่านสื่อออนไลน์ทางสังคมยุคใหม่
             2. ผลการศึกษาการพัฒนาการจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านยอดนิยมตามหลักโภชนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า จากการเพิ่มความรู้ ผู้สูงอายุ มีประสบการณ์ และมีพื้นฐานกิจกรรมอาหารพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่น ทาให้รู้จักเกี่ยวกับอาหารพื้นบ้านมีกี่ชนิดชนิด เป็นเมนูประจาพื้นบ้านมีประโยชน์และหาได้ง่ายในท้องถิ่น นอกจากนี้ทาให้รู้เรื่องว่าอาหารพื้นบ้านมีความสาคัญเกี่ยวกับสุขภาพของผู้สูงอายุและคนวัยอื่นๆ เกิดความตระหนักเข้าใจตัดสินใจเลือกรับประทานอาหารพื้นบ้าน ทาให้เกิดการเรียนรู้ข้อมูลอาหารพื้นบ้านที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้นและทาให้รู้จักคิด บอกต่อถึงสรรพคุณ และทาอย่างต่อเนื่อง ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความรอบรู้เกี่ยวกับอาหารพื้นบ้านยอดนิยมที่ส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุก่อนได้รับกิจกรรมการจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและหลังการได้รับกิจกรรมความรู้ พบว่า หลังได้รับกิจกรรมการจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ มีความรอบรู้ ดีกว่าก่อนการได้รับกิจกรรมการจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจ การจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านยอดนิยมเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่า ในภาพรวม ร้อยละ 90.38
              ผลการศึกษาการประเมินผลการจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านยอดนิยมตามหลักโภชนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุเขตภาคเหนือตอนบน พบว่า ผู้สูงวัยทั้ง 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบน มีประสบการณ์เกี่ยวกับความรู้อาหารพื้นบ้านเป็นอย่างดีผ่านกระบวนการจากกิจกรรมเชิงปฏิบัติการและการเรียนรู้ในชีวิตประจาวัน ได้รับความรู้จากหน่วยงานภาครัฐ และข้อมูลที่ผ่านสื่อในชุมชน และสื่อออนไลน์ทางสังคมยุคใหม่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2556. gic.anamai.moph.go.th/main.php?filename=download, เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่22 ธันวาคม 2561.
จินตนา สุวิทวัส. ภาวะโภชนาการและบริโภคนิสัยของผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในแผนกการพยาบาลบาบัดพิเศษ. วารสาวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน) 2554 กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยพยาบาลกรุงเทพ), หน้า 22.
ทรัพย์ อุไรรัตน์. การใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการศึกษานอกระบบโรงเรียนภาคตะวันออก. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2525-2544) และฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564).
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (2555-2559)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
รวีโรจน์ อนันตธนาชัย. อาหารไทย: อาหารสมดุล–สมุนไพร. กรุงเทพมหานคร: เสมาธรรม, 2548
รุ่ง แก้วแดง. ปฏิบัติการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์มติชน. 2543
วรรณภา ทองแดง. ทักษะการรับรู้ของบุคคลที่ดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาและการศึกษาการแปลงแผนผู้สูงอายุไปสู่การปฏิบัติงานพัฒนาท้องถิ่น ที่จังหวัดพะเยา, 2558
ศิริรัตน์ ปานอุทัย และลินจง โปธิบาล. พฤติกรรมแสวงหาการรักษาของผู้สูงอายุ เขตอาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2552
สรญา แก้วพิฑูลย์ และณัฎฐวุฒิ แก้วพิฑูลย์. ภาวะโภชนาการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุในจังหวัดสุรินทร์. จังหวัดสุรินทร์2555
สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ, 2556 www.nesdb.go.th/ewt_w3c/main.php?filename=annual_repor เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2561.
สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ, 2556.
สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี. พัฒนาการสาคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ. รายงานการประชุมระดับโลกเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข, 2552