การกำเนิดรัฐตามแนวคิดของพระพุทธศาสนา

Main Article Content

ทัศนีย์ ปิยะเจริญเดช
พระมหาสุริยะ มทฺทโว
พระพงษ์ศักดิ์ สนฺตมโน

บทคัดย่อ

               พุทธทัศนะว่าด้วยการกาเนิดรัฐเป็นบทความที่นาเสนอการกาเนิดรัฐตามแนวพุทธศาสนาโดยการศึกษาทบทวนเอกสารและตาราพระไตรปิฎกแล้วนามาสังเคราะห์เนื้อหาการกาเนิดรัฐ ซึ่งพบว่ามี 1) การกาเนิดรัฐในอัคคัญญสูตร เกิดจากปัญหาในสังคม จึงหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยกาหนดเป้าหมายและวิธีการในการแก้ไขปัญหาก่อให้เกิดเป็นสัญญาประชาคมขึ้นภายในสังคม ทั้งนี้เป้าหมายและวิธีการแก้ไขปัญหานั้นขึ้นอยู่กับหลักคุณธรรมเป็นพื้นฐาน 2) การกาเนิดรัฐตามหลักปฏิจจสมุปบาทวิวัฒนาการของสังคมและการกาเนิดรัฐ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องของกิเลสภายในจิตใจของมนุษย์ คือกิเลสสร้างสังคมมนุษย์ซึ่งแต่ละคนมีปฏิกิริยาต่อสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันออกไป ทำให้ชายหญิงมีความรู้สึกพอใจและไม่พอใจต่อกัน มีความต้องการเพื่อตอบสนองกัน ปรารถนาในความเป็นเจ้าของกันและกัน จึงมีการกาเนิดครอบครัว กาเนิดครือญาติขึ้น มีความเคารพกันตามลาดับอาวุโส 3) การกาเนิดรัฐตามแนวคิดในมหาโควินทสูตรรัฐนั้นพัฒนาไปจากรูปแบบของครอบครัวแล้วค่อยๆ เจริญขึ้นมีการสร้างบ้านเรือนมากขึ้นมีการเริ่มสะสมอาหารและทรัพย์สมบัติมีการออกกฎเกณฑ์ กติกา ที่เป็นลักษณะสัญญาประชาคม ที่ใช้ควบคุมสังคม มีความจาเป็นที่จะมีหัวหน้ามาคุ้มครองรักษากฎเกณฑ์ กติกา รักษาความสงบสุขแก่สมาชิกในสังคม ตลอดจนรักษาทรัพย์สินก็เกิดขึ้นตามมาและเริ่มมีการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินเกิดขึ้นกษัตริย์พระองค์หนึ่งๆ ก็จะทรงครอบครองอาณาจักรที่มีอาณาเขตแน่นอนรัฐที่สมบูรณ์แบบก็เกิดขึ้นแต่บัดนั้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2539.
ที.ปา. (ไทย) 11/129/89.
ที.ปา. (ไทย) 11/130/96.
ที.ม. (ไทย) 10/209/199-226.
วิสุทธิ. (ไทย) 3198
ส .นิ. (ไทย) 16/224 - 225/90 – 91
ส .ส. (บาลี) 15/28/8.
องฺ.นวก. (บาลี) 23/30/92
อภิ.วิ. (ไทย) 35/1023/179 – 180.
ทวี ผลสมภพ. ปัญหาปรัชญาในการเมืองของโลกตะวันออก. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคาแหง, 2534
ปรีชา ช้างขวัญยืน. ทรรศนะทางการเมืองของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสามัคคีสาส์น จากัด, 2540
พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตโต). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2541
พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตโต). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2541
ส.ศิวรักษ์. กรรมนิพพานมหาสาวิภาสมัยพุทธกาล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2521
สิทธิพันธ์ พุทธหุน. แนวการศึกษารัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคาแหง, 2543
สิน สภาวสุ. ทางรอดของมนุษย์ชาติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรสมัย, 2526
สุชีพ ปุญญานุภาพ. พจนานุกรมศัพท์พระพุทธศาสนา ไทย-อังกฤษ และอังกฤษ-ไทย. กรุงเทพมหานคร: เกษมบรรณกิจการพิมพ์, 2514