คัมภีร์โบราณนครลำปาง: หลักปฏิบัติและกระบวนการขัดเกลาเชิงวัฒนธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
คัมภีร์โบราณล้านนา เป็นคัมภีร์ที่แต่งขึ้นด้วยภาษาล้านนา ส่วนใหญ่เป็นการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับหลักคำสอนเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและความเป็นไปของบ้านเมือง จากการศึกษาคัมภีร์ดังกล่าวผู้วิจัยได้ค้นพบคัมภีร์คำสอนทางพระพุทธศาสนา ที่สำคัญ 3 เรื่อง ได้แก่ เรื่องที่ 1 เรื่อง ปมาธรรม (พระทุศีล) เป็นเรื่องที่กล่าวถึงผู้ประพฤติล่วงละเมิดพุทธบัญญัติมีธรรมอันลามก หลอกลวงชาวบ้าน มีความประพฤติสกปรก น่ารังเกียจ และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไปย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินินาต นรก แต่ถ้าใครเป็นผู้รักษาศีลที่ดี ก็จะได้รับอานิสงส์ของศีล เรื่องที่ 2 สามป๋งสามกิ่ว เป็นเรื่องที่กล่าวถึง ปริศนาธรรมคำสอน 6 ข้อ 1) สนุกอย่านอน 2) เมียวอนอย่ายื่น 3) โอ่เน่าหื้อเห็น 4) เหม็นหื้อรู้ 5) นอนสูงหื้อนอนค่ำ 6) นอนต่ำหื้อนอนหงาย และเรื่องที่ 3 ธรรมดาสอนโลก เป็นเรื่องที่ต้องการสื่อสารการใช้ชีวิตประจำปัน การคบมิตร การสร้างบ้านเรือน และวิธีการปฏิบัติตนให้อยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข โดยชี้ให้เห็นว่าถ้าไม่ประพฤติปฏิบัติตามจะเกิดความเดือดร้อน
จากนั้นได้สรุปใจความสำคัญของเนื้อหาแต่ละเรื่อง วิเคราะห์และเชื่อมโยงกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา หลักคติความเชื่อต่างๆ และรวบรวมเป็นชุดความรู้เพื่อเผยแผ่ให้สถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง ได้ทำการเรียนรู้ ผ่านการจัดกิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมสวด 2) ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม 3) สรุปข้อคิดโดยผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ทั้งนี้ องค์ความรู้ที่ได้จากคัมภีร์โบราณทั้งสามเรื่องนั้น จัดเป็นกระบวนการขัดเกลาทางสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อมในการถ่ายทอดวัฒนธรรม จากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง โดยมีภาษาล้านนาเป็นการสื่อสารที่สำคัญที่ใช้ในการถ่ายทอด นอกจากนี้ยังเป็นกระบวนการพัฒนาบุคลิกภาพของคนให้มีคุณลักษณะตามที่สังคมต้องการ โดยการซึมซับเอาบรรทัดฐานและค่านิยมทางสังคมมาเป็นของตนและเรียนรู้ในการปฏิบัติตนตามบทบาทและภาระหน้าที่ทางสังคม
Article Details
References
นิภาพรรณ พิพัฒน์. แนวทางการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุชนกับการพัฒนาวัฒนธรรมการเมือง:
กรณีศึกษาแขวงเม็งราย. จังหวัดเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2549.
ประเสริฐ ณ.นคร. ตัวอักษรไทยในลานนาอีสานและลายสือไทย. สารนิพนธ ประเสริฐ ณ นคร.
กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ, 2541.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร:
สานักพิมพ์ผลิธัมม์, 2558.
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ และคณะ. รายงานวิจัย กิจกรรมการถ่ายทอดภูมิปัญญาล้านนาโดยปราชญ์
ท้องถิ่น. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นพบุรีการพิมพ์เชียงใหม่, 2556.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วัดน้าบ่อหลวง สมบัติวัด ศรัทธาวัด, หนังสือที่ระลึกงานทอดผ้า กฐิน
พระราชทาน ประจาปีพุทธศักราช 2556. สรัสวดี – สมโชติ อ๋องสกุล บรรณาธิการ.
เชียงใหม่: หจก.วนิดาการพิมพ์, 2556.
รุ่ง สุบิน. พระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์มติชน, 2550.
วศิน อินทสระ. พุทธจริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2541.
ศักย์ศรน์ มงคลอิทธิเวช. กระบวนการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อให้เป็นชุมชนน่าอยู่: กรณีศึกษา
บ้านสบยาบ อาเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2552.
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏเชียงใหม่. ตานานพื้นเมือง
เชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี. เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง, 2538.
สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. เชียงใหม่: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2539.