กระบวนการเรียนรู้และการขัดเกลาเชิงวัฒนธรรมในคัมภีร์โบราณนครลำปาง สู่สถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง

Main Article Content

พระพิษณุพล สุวณฺณรูโป
พระมหากีรติ วรกิตฺติ
พระครูปลัดอุทัย รตนปญฺโญ

บทคัดย่อ

               งานวิจัยเรื่อง “กระบวนการเรียนรู้และการขัดเกลาเชิงวัฒนธรรมในคัมภีร์โบราณนครลำปางสู่สถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ตามหลักคำสอนที่ปรากฏในคัมภีร์โบราณนครลำปาง 2) เพื่อศึกษากระบวนการขัดเกลาเชิงวัฒนธรรมที่ปรากฏในคัมภีร์โบราณนครลำปาง 3) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการขัดเกลาเชิงวัฒนธรรมในคัมภีร์โบราณนครลำปางของสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research)
                 ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการขัดเกลาเชิงวัฒนธรรมตามหลักคำสอนในคัมภีร์โบราณนครลำปาง ในงานวิจัยนี้ กำหนดเอาคัมภีร์ 3 ฉบับ ได้แก่ เรื่องปมาทธรรม, เรื่องสามป๋ง สามกิ่ว และเรื่องธรรมดาสอนโลก และรวบรวมเป็นชุดความรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการขัดเกลาเชิงวัฒนธรรมในคัมภีร์โบราณนครลำปางของสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง ผ่านการจัดกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมสวดมนต์ นั่งสมาธิ ฟังบรรยาย ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม คำสอนในคัมภีร์โบราณทั้งสามเรื่อง สามารถนำมาเป็นแบบอย่างที่ดีในการขัดเกลาเชิงวัฒนธรรมในสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 แบบแผนในการประพฤติปฏิบัติตน ด้านที่ 2 หลักปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันหรือมารยาททางสังคม ด้านที่ 3 ความเชื่อทางศาสนา จากคำสอนที่ปรากฏในคัมภีร์ ผู้วิจัยได้นำมาสร้างเป็นชุดความรู้เพื่อการขัดเกลาเชิงวัฒนธรรมในสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง ผลจากการทดลองใช้ชุดความรู้ดังกล่าว พบว่า นักเรียนเกิดความสนใจต่อการเรียนรู้ในคัมภีร์โบราณ และสามารถนำเอาหลักคำสอนในคัมภีร์มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ และยังเป็นการต่อยอดในการเรียนรู้ภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่นได้ดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างได้นำหลักคำสอน และคติ ความเชื่อไปถ่ายทอดให้คนในชุมชนได้เรียนรู้ร่วมกัน และมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์ ในระบบการเรียนรู้ในโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษาให้อยู่ในคุณธรรมจริยธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

งามพิศ สัตย์สงวน. หลักมานุษยวิทยาวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ธรรมสภา, 2543.
พรรณเพ็ญ เครือไทย และอมรัตน์ เฟื่องวรธรรม. รายชื่อหนังสือโบราณล้านนา: เอกสารไมโครฟิล์มของสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี 2521-2533. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม, 2552.
พระพิษณุพล สุวณฺณรูโป (รูปทอง). “การขัดเกลาสังคมโดยองค์กรศาสนาในพระพุทธศาสนา”. สาระนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2558.
วรรณกรรมล้านนา. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2561 , จากเว็ปไซต์ http://lannamanuscripts.net/th/about
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
สมหมาย เปรมจิตต์ และคณะ. โครงการปริวรรตพระคัมภีร์ล้านนา: ปริวรรตและวิเคราะห์กฎหมายล้านนา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา, 2548.