ความเข้าใจการปกครองระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

Main Article Content

ธีระวัฒน์ แก้วลังกา

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความเข้าใจการปกครองระบอบประชาธิปไตย และ 2)ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเข้าใจทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ โดยศึกษาถึงปัจจัยด้านการเข้าถึงข่าวสารทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมือง และการได้รับความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ที่ศึกษาในปี 2562 ทั้งหมด 7 โรงเรียน จำนวน 370 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


                 ผลการวิจัยพบว่า ความเข้าใจการปกครองระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ด้านการเข้าถึงข่าวสารทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมือง และการได้รับความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย ล้วนส่งผลทางบวกต่อความเข้าใจทางการเมืองแบบประชาธิปไตยทั้งสิ้น โดยมีค่าน้ำหนักความสำคัญของตัวแปรในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ .700, .278 และ .256 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตามลำดับ


              รัฐบาลควรกำหนดให้สถาบันการศึกษามุ่งเน้นการเรียนการสอนในด้านความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โดยเป็นวิชาหลักในหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้สามรถพูดคุยสนทนาในประเด็ดทางการเมืองทั้งในครอบครัว โรงเรียน และชุมชน ส่งเสริมให้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองในเวทีหรือสถานที่ต่างๆ และต้องสร้างกิจกรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยให้มีความสม่ำเสมออย่างเป็นอิสระโดยไม่ปิดกั้น จะทำให้การพัฒนาการเมืองแบบประชาธิปไตยของประเทศเป็นไปอย่างมีระบบ ต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินตนา ศรีนุกูล. ศูนย์เรียนรู้การเมืองและการเลือกตั้งอาเซียน: แนวทางการให้การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. รายงานการศึกษาส่วนบุคคล. สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ, 2560.
ชัยกฤต รัตนากร. ปัจจัยที่มีผลต่อการตื่นตัวทางการเมืองของนักเรียนโรงเรียนชลราษฎรอารุง และโรงเรียนชลกันยานุกูล ในการเมืองแบบประชาธิปไตย. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2558.
ธนาภรณ์ โง้วเจริญ และ วัชรินทร์ ชาญศิลป์. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนักเรียน โรงเรียนศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 4(1) (2560). หน้า 133-147
พรภิรมณ์ ศรีทองคา และ วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. ทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในตาบลบ้านช้างอาเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2(2) (2558). หน้า 32-44
พิสิษฐ์ วงศารัตน์ศิลป์. ความคิดเห็นของประชาชนในการปกครองระบอบประชาธิปไตยในเขตอาเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. (7)1 (2560). หน้า 190-202
วัชรพงษ์ วชิรปญฺโญ. ประชาธิปไตยกับกระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของภาคประชาสังคม.
วารสาร มจร. นครน่านปริทรรศน์. (2)1 (2561). หน้า 105-120
สมนึก ปัญญาสิงห์. การพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองกับกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยชุมชน: กรณีศึกษา ตาบลนาชุมแสง อาเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558.
สรพงษ์ เกิดแก้ว และ วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. ทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนศรีประจันต์ “เมธีประมุข” จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 4(1) (2558). หน้า 57-67 การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 (ลาปาง). จากเว็ปไซต์ http://datacenter.lpgpeo.info/?page= dep_main&id=1052101735#school
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35. ข้อมูลสถานศึกษาในสังกัด สานักงานเขตพื้นที่. 2562.
สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. เยาวชนกับการมีส่วนร่วมพัฒนาประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร. สานักประชาสัมพันธ์: สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2559.