สภาพปัญหาการบริหารงานบุคคลในกรณีเปลี่ยนแปลงคณะผู้บริหาร: ศึกษากรณีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

รัชนี วิเศษประสิทธิ์

บทคัดย่อ

               การบริหารงานบุคคลท้องถิ่น ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่นระหว่างดำรงตำแหน่ง ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานบุคคลในกรณีเปลี่ยนแปลงคณะผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาการบริหารงานบุคคลในกรณีเปลี่ยนแปลงผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักทรัพยากรบุคคลหรือผู้ได้รับมอบหมาย จำนวน 151 คน และสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t-test และ F-test


              ผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาการบริหารงานบุคคลในกรณีเปลี่ยนแปลงคณะผู้บริหารโดยรวมและเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารท้องถิ่นนำไปสู่ประเด็นปัญหาด้านการบริหารงานบุคคลทั้งด้านการวางแผนอัตรากำลัง การบรรจุแต่งตั้ง การกำกับการปฏิบัติงาน และการพัฒนาบุคลากร ซึ่งมีผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจของบุคลากร ประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลและผลกระทบด้านอื่นๆ โดยข้อเสนอแนะต่อการแก้ไขปัญหา ได้แก่ ควรนำบทลงโทษมาบังคับใช้อย่างจริงจัง กำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้บริหารท้องถิ่นมอบหมายงานภายใต้มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ทบทวนระเบียบหลักเกณฑ์เพื่อลดทอนอำนาจในแทรกแซงกระบวนการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารท้องถิ่น


               จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในกรณีเปลี่ยนแปลงคณะผู้บริหาร พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของนักทรัพยากรบุคคลหรือผู้ได้รับมอบหมายไม่มีความสัมพันธ์กับสภาพปัญหาการบริหารงานบุคคลในกรณีเปลี่ยนแปลงคณะผู้บริหาร ในขณะที่ปัจจัยองค์กร ได้แก่ จำนวนคณะผู้บริหารที่เคยร่วมงาน การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายในองค์กรและรูปแบบการนำของผู้บริหารมีความสัมพันธ์กับสภาพปัญหาการบริหารงานบุคคลในกรณีเปลี่ยนแปลงคณะผู้บริหาร


                โดยสรุป การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารท้องถิ่นนำไปสู่สภาพปัญหาการบริหารงานบุคคลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้นข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา ควรมีการแยกอำนาจการบังคับบัญชาข้าราชการหรือพนักงานท้องถิ่น ออกจากอำนาจหน้าที่การบริหารกิจการท้องถิ่นของผู้บริหารท้องถิ่น เพื่อลดการผูกขาดอำนาจในการบริหารงานบุคคลไว้ที่ผู้บริหารท้องถิ่น และสร้างระบบคานอำนาจในการบริหารงานบุคคลท้องถิ่นให้มีความสมดุลและแก้ปัญหาการบริหารงานบุคคลท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. ออนไลน์. 2560. จากเว็ปไซต์ http://www.dla.go.th/work/abt/summarize.jsp
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์และคณะ. ทิศทางการปกครองท้องถิ่นของไทยและต่างประเทศเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สานักพิมพ์วิญญูชน จากัด, 2546
ผกาภรณ์ จันทร์ทิพย์. ความสัมพันธ์ระหว่างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษางานด้านการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552
ยุวธิดา พลเมืองดี. การศึกษากระบวนการทุจริตเรียกรับผลประโยชน์ในการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น กรณีบรรจุและแต่งตั้ง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อาเภอเมือง จังหวัดพะเยา. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยพะเยา, 2557
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. แนวคิดและทฤษฎีการปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: บริษัทบพิธการพิมพ์ จากัด, 2555
วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า. ร่วมคิด ร่วมปฏิรูป การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: ส เจริญการพิมพ์, 2550
สมจิต อูปทอง. กระบวนการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตาบลบ้านดง อาเภอแม่เมาะ จังหวัดลาปาง. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏลาปาง, 2553
อภิญญา มีมาก. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตาบลในเขตอาเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2555