การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

ชลธิดา ณ ลำพูน
บุณยณัฐ บัวราช

บทคัดย่อ

               ศตวรรษที่ 21 นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีและการสื่อสาร ส่งผลกระทบต่อระบบการจัดการศึกษาทุกระดับที่ต้องปรับกระบวนการบริหารจัดการและกลยุทธ์ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การพัฒนามนุษย์ตั้งแต่แรกเกิดให้มีคุณภาพจะเป็นการปูรากฐานที่สำคัญของการใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข การบูรณาการและสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา ครูผู้สอน และผู้ปกครอง ต้องปรับระบบ กระบวนการ วิธีการเรียนการสอน การจัดกิจกรรม การผลิตสื่อและนวัตกรรม ให้ทันต่อสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของเด็กในยุคนี้ การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 สถานศึกษา ผู้บริหาร ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ต้องมีความรู้และความเข้าใจต่อการพัฒนาทักษะและการแก้ไขปัญหาของเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กมีความพร้อมต่อการเรียนรู้การใช้ชีวิตอยู่ในสังคม และมีทักษะการแก้ปัญหาในสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น ในชีวิตประจำวันของตนเองได้ การสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหาของเด็กปฐมวัย คือ การจัดการการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยและบทบาทของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 เพื่อที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการระบบการจัดการเรียนรู้ระดับปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2560.
ดารา วิมลอักษร. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสตรัคติวิสต์ต่อความสามารถในการแก้คิด
แก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาการครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 2552. ถ่ายเอกสาร ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์. การส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาในเด็กปฐมวัย. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2562. จากเว็ปไซต์ http://www.gotoknow.org/posts/405394. ดวงพร ผกามาศ. ความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร ประเภทขนมไทย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ. 2554. ถ่ายเอกสาร พัชรี ผลโยธิน . การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย : ตามแนวคิดไฮสโคป. กรุงเทพมหานคร: วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น. 2550.
พนิดา ชาตยาภา. เทคโนโลยีกับเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ มนุษย์ศาสตร์
และสังคมศาสตร์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559.
พรพิไล เลิศวิชา. โรงเรียนอนุบาลตามแนวคิด brain based learning. กรุงเทพมหานคร: สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. 2552.
วาสนา จักร์แก้ว. การสังเคราะห์ การถอดบทเรียนด้านสื่อและนวัตกรรมการสอน ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ในโครงการร่วมมือในการพัฒนาบุคลากร ทางการศึกษาปฐมวัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ในเขตภาคเหนือตอนล่าง. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. 2557. ถ่ายเอกสาร
วิจารณ์ พานิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี – สฤษดิ์วงศ์. 2555.
วิจารณ์ พานิช. การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ส.เจริญการพิมพ์. 2556.
วิทยา มานะวาณิชเจริญ. ครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2562.
จากเว็ปไซต์ http://taamkru.com/th/ครูปฐมวัย-พันธุ์ใหม่มืออาชีพ- ตอนที่29/.
สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2562
จากเว็ปไซต์ https://www.trueplookpanya.com/blog/content/66054/-teaartedu-teaart-teaarttea- .
สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานครมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค. 2560.