การพัฒนาหลักสูตร ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านปัจจัย 4 ของตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

อรอนงค์ ตุ้มนาค

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านปัจจัย 4 ของตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 และเพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรที่สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลเกาะคา (น้ำตาลอนุเคราะห์) ที่เข้ารับการทดลองใช้หลักสูตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านปัจจัย 4 ของตนเอง โดยสมัครใจ จำนวน 32 คน เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย หลักสูตรที่สร้างขึ้น เอกสารประกอบหลักสูตร และแบบทดสอบวัดผลการเรียนตามหลักสูตรก่อนเรียนและหลังเรียนวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที t–test dependent


ผลการวิจัยพบว่า ได้หลักสูตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านปัจจัย 4 ของตนเอง  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีหน่วยการเรียนรู้ 5หน่วย ได้แก่ 1.หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับพื้นฐานชีวิต 2. ปัจจัย 4 คุณค่าที่แท้จริงกับสิ่งลวงตา 3. บำบัดตน ดูแลชีวิต 4.ดูแลรักษาพึ่งพาตนเอง และ5.รู้คิด รู้ใช้ เข้าใจเศรษฐศาสตร์ หลักสูตรมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 3.59, S.D = 0.46) เอกสารประกอบหลักสูตรค่าเฉลี่ยความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 3.67 , S.D = 0.64) และผลการใช้หลักสูตร คือนักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย ( 25.03, S.D = 7.34) และคะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย ( 16.41, S.D = 3.28)

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

อรอนงค์ ตุ้มนาค, "คณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง"

นางอรอนงค์  ตุ้มนาค

นักศึกษาปริญญาโท. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ,2551.

กิตติธัช คงตะวัน. “การวิจัยเรื่อง รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต.สาขาหลักสูตรและการสอน: มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม, 2553.

เชาว์ เพ็ชรราช. วิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: www.gotoknow.org/posts/466603 [12 เมษายน 2560].

ยุพิน อินต๊ะวงศ์. “การพัฒนาหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโทกหัวช้าง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาหลักสูตรและการสอน : มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง,2555.

โรงเรียนอนุบาลเกาะคา(น้ำตาลอนุเคราะห์). รายงานประจำปีของสถานศึกษาปีการศึกษา 2560. จังหวัดลำปาง: โรงเรียนอนุบาลเกาะคา,2561.

วิชัย วงษ์ใหญ่. การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: อาร์ แอนด์ ปริ้นท์, 2545.

วีระ ไทยพานิช. 57 วิธีสอน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2551.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ 2550.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12”.กรุงเทพฯ : 2560.

Dewey John, Experience and Education. New York: Macmillan Publishing Company,1963.

Tyler Ralph W, Basic Principles of Curriculum and Instruction,Chicago : The University of Chicago Press, 1949.