แนวทางการส่งเสริมองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสังคมของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดตราด

Main Article Content

เพ็ญนภา หาญกล้า

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสังคมของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดตราด และ 2) แนวทางการส่งเสริมองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสังคมของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดตราด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่ที่ศึกษาคือศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดตราด เก็บรวบรวมข้อมูลกับบุคลากรด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอข้อมูลด้วยการเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสังคมของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดตราดมีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ด้าน คือ 1) พลวัตการเรียนรู้ของคนในองค์กรคือ การตระหนักรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การปรับตัว และการพัฒนาองค์ความรู้ของตนเองอย่างสม่ำเสมอ  2) การปรับเปลี่ยนองค์กรคือ การปรับโครงสร้างและกลยุทธ์องค์กรให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์กร  3) การเพิ่มอำนาจบุคคลในองค์กรคือ การมอบหมายงานให้เหมาะกับแต่ละคน ให้อำนาจในการตัดสินใจในงาน และการให้กำลังใจเสริมแรงทางบวก 4) การจัดการความรู้ในองค์กรคือ การแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้ การจัดเก็บความรู้ และการถ่ายโอนและใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสังคม  และ 5) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของคนในองค์กรคือ การใช้เทคโนโลยีเพื่อการติดต่อสื่อสารในองค์กร เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ และเพื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ 2. แนวทางการส่งเสริมองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสังคมของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดตราด สามารถสรุปตามบทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บทบาทของครูที่ต้องตระหนักในการพัฒนาตนเองให้เหมาะสมกับองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสังคม บทบาทของผู้บริหารในการจัดการองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสังคมอย่างเป็นระบบ และบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสังคม


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรรยาพร ก่อเกียรติคุณ. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะครู พฤติกรรมผู้นำ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กับพลวัตการเรียนรู้ของครูมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.

ทวีศักดิ์ มโนสืบ. ศักยภาพขององค์กรในการพัฒนาไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 2550.

เนาวรัตน์ คงพ่วง. การประเมินความต้องการจำเป็นสมบูรณ์ของการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมสำหรับนักเรียนออทิสติก. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551.

บุณณภัทร์ เดือนกลาง. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2552.

ปองภัทร อินทรัมพรรย์. การพัฒนามาตรวัดความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้สำหรับโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญา

ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551.

แพนศรี ศรีจันทึก. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรสายสนับสนุน กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, 2554.

วรธรรม พงษ์สีชมพู. (2555). อิทธิพลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรรัฐวิสาหกิจที่มีต่อการเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้และองค์กรแห่งนวัตกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ และเพ็ญนภา ประภาวัต. องค์การแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษา: โรงพยาบาลดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี. พิมพ์ครั้งที่ 1 ฉบับที่ 26 วารสารวิทยาการจัดการ, 2552 หน้า 33-56.

สุธิญา จันทร์เจ้าฉาย. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนเหล่าทัพสู่การเป็นองค์กรอัจฉริยะ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.

Berkes, F. Evolution of co-management: Role of knowledge generation, bridging organizations and social learning. Journal of Environmental Management, 90(5), 2009, p.1692-1702.

Dovey, K. and White, R. Learning about learning in knowledge-intense organizations. The Learning Organization, 12(3), 2005, p.246-260.

Marquardt, M.J. Building the Learning Organization: A System Approach to Quantum Improvement and Global Success. New York: McGraw-Hill, 1996.

Marquardt, M.J. Building the Learning Organization: Master the 5 Elements for Corporate Learning. California: Davies-Black Publishing, 2002.