การบูรณาการแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน สังคมศึกษาสำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านป่าแดง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

พัชรนันท์ อาตมียะนันท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อออกแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาที่บูรณาการแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา 2) เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนสังคมศึกษาโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ประกอบด้วยผู้บริหาร ครูวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ด้านการสอนสังคมศึกษาและผู้มีความเชี่ยวชาญในด้านการวัดและการประเมินผล ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 1) แบบประเมินผลการเรียนรู้จากการบูรณาการแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาหลักคิด ตามแนวทฤษฎีแบบบูรณาการดำเนินการแบบ Snowball Sampling Technique 2) แบบประเมินสภาพการใช้แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา ตามแนวคิดของบรูเนอร์ การเรียนรู้โดยการค้นพบ (Discovery  approach) โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการเรียนรู้ KAP


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการประเมิน 5 สาระ จำนวน 12 แผน ใช้เวลา เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม 2559 โดยรวมผลการประเมินโดยรวมทุกแผนมีความเหมาะสมมาก (µ=4.47) ทุกแผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 12 แผน จากความคิดเห็นผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน S.D. เท่ากับ 0.38 คือ เหมาะสมมากที่สุด

        2. ผลการประเมินความสอดคล้ององค์ประกอบสภาพการใช้แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา ที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความเหมาะสมของข้อความและตรวจความเที่ยงตรงเพื่อตรวจสอบหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of ltem Objective Congruenc: IOC) ของแบบประเมินแล้วเลือกข้อคำถาม ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป จากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เท่ากับ 1.00 ซึ่งมีคุณภาพ สามารถนำไปใช้ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542) . พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ:บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). คู่มือการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร .

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2535).หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช2524(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533).พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

บุญชม ศรีสะอาด, การวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 7, กรงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2545.

ประพนธ จันทรรัตน์. การใช้ทรัพยากรท้องถิ่นในงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตการศึกษา 2 ซ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.

พนิดา สินสุวรรณ (2527) .การเปรียบเทียบลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในวิชาสังคมศึกษา เรื่อง ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยการสอนโดยใช้เทคนิคพยากรณ์กับการสอนแบบบรรยาย. วิทยานิพนธ์ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รวิภัทร วงศ์สรรคกร, สมศักดิ์บุญสาธร, อรวรรณ วังสมบัติ. (2559). สภาพการใช้แหล่งเรียนรู้ใน การ จัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดเทศบาลตำาบล จังหวัด เชียงราย. สารนิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา)

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.