ศึกษาวิเคราะห์ความสำคัญของคัมภีร์อรรถกถาที่มีต่อการศึกษาพระไตรปิฎก

Main Article Content

พระนาถ โพธิญาโณ (โปทาสาย)

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทรรศนะเกี่ยวกับคัมภีร์อรรถกถาที่มีต่อการศึกษาพระไตรปิฎก 2) ศึกษาความสำคัญของคัมภีร์อรรถกถาที่มีต่อการศึกษาพระไตรปิฎกตามจารีตพระพุทธศาสนา 3) วิเคราะห์ความสำคัญของคัมภีร์อรรถกถาที่มีต่อการศึกษาพระไตรปิฎก


                การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงศึกษาและวิเคราะห์โดยใช้ พระไตรปิฎกบาลีฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระไตรปิฎกแปลไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปลไทยฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นหลัก เริ่มจากการศึกษาปัญหาแล้วจึงนำปัญหามาทำการศึกษาหาทรรศนะ จากนั้นจึงศึกษาหาความสำคัญ แล้วจึงนำปัญหามาวิเคราะห์ โดยการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของคัมภีร์อรรถกถาต่อการศึกษาพระไตรปิฎก พร้อมกับสัมภาษณ์ด้านทรรศนะจากผู้เชี่ยวชาญด้านอรรถกถาจำนวน 3 ท่าน


                ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าคัมภีร์อรรถกถามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการศึกษาพระไตรปิฎก คัมภีร์อรรถกถานั้นเป็นคัมภีร์ที่อธิบายความในพระไตรปิฎกโดยตรงเป็นตัวแทนของการแก้ปัญหาขั้นที่สองที่ใช้ในการตีความควบคู่กับพระไตรปิฎก ช่วยพิจารณาตัดสินความหมายของคำหรือประโยคนั้นๆ ให้ถูกต้องอย่างแท้จริง อรรถกถายังเป็นที่ประมวลข้อมูลเกี่ยวกับพุทธประวัติซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในพระไตรปิฎกซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับจารีตพระพุทธศาสนา โดยมีการอธิบายตามลำดับไป ทั้งคำศัพท์หรือถ้อยคำอธิบายข้อความ ชี้แจงความหมาย ขยายความ ในพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก มีการเล่าเรื่องประกอบ อย่างมีระเบียบต่อเนื่องและไพเราะ พร้อมทั้งเชื่อมโยงประมวลความเป็นมาเป็นไปต่างๆ ที่จะช่วยให้เข้าใจพุทธพจน์หรือเรื่องราวในพระไตรปิฎกชัดเจนขึ้น อรรถกถาเป็นเหมือนสะพานหรือบันไดที่ช่วยให้ก้าวเข้าไปถึงพระไตรปิฎกและเป็นพจนานุกรมที่เก็บรักษาคำอธิบายตัวจริงตั้งแต่ดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ 11,(กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จากัด, 2551.
มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, อรรถกถาภาษาไทย พระวินัยปิฎก สมันตปาสาทิกา ภาค 1, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2552.
พระเทพเวที ( ประยุทธ์ ปยุตฺโต), “ประวัติ พัฒนาการ และอิทธิพลของพระไตรปิฎก”, พุทธจักร, ปีที่ 46 ฉบับที่ 9 กันยายน 2535.
บรรจบ บรรณรุจิ, “ผลงานของพระพุทธโฆษะและพระเถราจารย์ร่วมสมัย: ศึกษาเฉพาะกรณีที่ศึกษาในเมืองไทย”, ในรวมบทความทางวิชาการพระพุทธศาสนาและปรัชญา, กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2540.
พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล, ให้สัมภาษณ์ในรายการ “ขยายข่าว”, 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. พระไตรปิฎกฉบับสาหรับประชาชน, พิมพ์ครั้งที่ 17, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2550.