การฝึกตนตามหลักธรรมพระพุทธศาสนาของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางลำปาง

Main Article Content

จรันดร์ ติ๊บอุ๊ด
ดิลก บุญอิ่ม
พระอธิการสุชาติ จนฺทสโร

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการฝึกตนตามหลักธรรมพระพุทธศาสนาของผู้ต้องขัง ในเรือนจำกลางลำปาง 2) เพื่อเสนอแนวทางเกี่ยวกับการฝึกตนตามหลักธรรมพระพุทธศาสนาของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางลำปาง เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งเชิงปริมาณ และเชิงสัมภาษณ์ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ต้องขังชาย ที่เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมคุณธรรมจริยธรรม ในเรือนจำกลางลำปาง ระหว่างวันที่ 12 - 28 ธันวาคม 2561 จำนวนทั้งสิ้น 70 คน และกลุ่มเป้าหมายผู้ให้สัมภาษณ์ ได้แก่พระภิกษุ และเจ้าหน้าที่เรือนจำกลางลำปาง จำนวน 10 รูป/คน


               ผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับการฝึกตนตามหลักธรรมพระพุทธศาสนาของผู้ต้องขังเรือนจำกลางลำปาง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ด้านความซื่อสัตย์ ผู้ตอบแบบสอบถาม มีการฝึกความซื่อตรง ซื่อสัตย์ต่อมิตรสหายที่อยู่ร่วมกัน ด้านการมีสติยั้งคิด ผู้ตอบแบบสอบถาม ฝึกใช้ชีวิตความเป็นอยู่อย่างพอเพียง ด้านการมีความเพียร ผู้ตอบแบบสอบถาม ฝึกความเข้มแข็งที่เป็นคุณสมบัติที่สำคัญของการดำรงตนในเรือนจำ และด้านการบำเพ็ญประโยชน์ ผู้ตอบแบบสอบถาม ได้ฝึกความพร้อมเพรียงร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติงานที่ต้องทำด้วยกัน


                ส่วนความคิดเห็นของผู้ให้สัมภาษณ์ ด้านความซื่อสัตย์ เห็นว่า ควรให้ผู้ต้องขังฝึกตนให้เป็นคนซื่อตรง โดยปฏิบัติงานด้วยการยึดถือความถูกต้องตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นสำคัญ ด้านการมีสติยั้งคิด ควรให้ผู้ต้องขังฝึกตนให้ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งกับคนอื่นอย่างสันติ ด้านการมีความเพียร ควรให้ผู้ต้องขังฝึกตนให้มีความเพียรพยายามประพฤติตนตามระเบียบวินัยของเรือนจำ และด้านการบำเพ็ญประโยชน์ ควรให้ผู้ต้องขังฝึกตนให้รู้จักบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวมอยู่เสมอเมื่อได้รับโอกาส


              แนวทางการฝึกตนตามหลักธรรมพระพุทธศาสนาของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางลำปาง ด้านการมีความซื่อสัตย์ ผู้ต้องขังควรฝึกปฏิบัติตนให้เป็นผู้มีความซื่อตรงต่อมิตรสหายที่อยู่ร่วมกัน ปฏิบัติงานตามกฎระเบียบของทางราชการ ปฏิบัติงานโดยยึดถือความถูกต้องตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ด้านการมีสติยั้งคิด ควรฝึกการใช้ชีวิตความเป็นอยู่อย่างพอเพียง ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา ด้านการมีความเพียร ควรฝึกปฏิบัติตนให้มีความเข้มแข็งในการดำรงตนในเรือนจำ พยายามประพฤติตนตามระเบียบวินัยของเรือนจำ และด้านการบำเพ็ญประโยชน์ ควรฝึกปฏิบัติตนให้พร้อมเพรียงร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติงานที่ต้องทำด้วยกัน พร้อมจะอุทิศตนเพื่องานของทางราชการที่ได้รับมอบหมาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมราชทัณฑ์. แผนปฏิบัติราชการ กรมราชทัณฑ์พ.ศ. 2559-2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2561. จากเว็ปไซต์ www.oic.go.th/ FILEWEB/CABINFOCENTER11/DRAWER052/.../00000124.PDF.
กรมราชทัณฑ์. สถิติผู้ต้องราชทัณฑ์ทั่วประเทศ. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2561. จากเว็ปไซต์ https://www.m-society.go.th/ewt news.php?nid=18755,
กรมวิชาการ. หนังสือเรียนสังคมศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์, 2526
ทองหล่อ วงษ์อินทร์. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยครูเพชรบุรี, 2523
นันทนา ธรรมบุศย์. “การเข้าใจตนเองและผู้อื่น”. วารสารแนะแนว. ปีที่ 13 ฉบับที่ 168 (2540). หน้า 19
ประเสริฐ เมฆมณี. หลักทัณฑวิทยา. พระนคร: บพิธการพิมพ์จากัด. 2525
ยุรพร ศุทธรัตน์. “ภาวะอารมณ์ต่อการเป็นผู้นา”. ดอกเบี้ย. ปีที่ 17 ฉบับที่ 218. 2542. หน้า 116
เรียม ศรีทอง. พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร: เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น, 2542
วรรณา พรหมบุรมย์. การพัฒนามนุษย์ที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก, 2540
วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. จิตวิทยาการปรับตัว. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, 2545
ศักดิไทย สุรกิจบวร์. “การรู้จักและเข้าใจตนเอง: ฐานในการพัฒนาตนเองของผู้บริหารมืออาชีพ”. วารสารบริหารการศึกษา. ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 (2550). หน้า 31