แนวทางการพัฒนาการลงโทษผู้ขับขี่รถในขณะเมาสุรา

Main Article Content

กิติพงศ์ เกษมสิน

บทคัดย่อ

               การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาการลงโทษผู้ขับขี่รถในขณะเมาสุราที่เหมาะสมกับผู้กระทำผิดและระดับความร้ายแรงของการกระทำผิดแต่ละกรณี ด้วยการศึกษาเชิงคุณภาพจากตำราเอกสารเกี่ยวกับการบัญญัติโทษอาญาสำหรับการขับขี่รถในขณะเมาสุราของประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น รวมทั้งสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่ปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรม จำนวน 8 ท่าน ประกอบด้วย ตำรวจ ทนายความ พนักงานอัยการ และผู้พิพากษา


               ผลการศึกษาพบว่าแนวทางการพัฒนาการลงโทษผู้ขับขี่รถในขณะเมาสุราควรใช้โทษปรับที่มีอัตราสูงเป็นฐานในการลงโทษผู้ที่ขับขี่รถในขณะเมาสุรา ส่วนโทษจำคุกโดยไม่รอการลงโทษควรใช้กับการกระทำผิดที่มีความร้ายแรงมาก ๆ และต้องมีการจำแนกระดับความร้ายแรงของการกระทำผิดเพื่อให้ศาลสามารถใช้ดุลพินิจกำหนดโทษปรับหรือจำคุกได้อย่างเหมาะสม นอกจากนั้นยังควรนำมาตรการทางเลือกแทนการจำคุกและมาตรการทางปกครองมาใช้ควบคู่กับโทษหลักเพื่อให้ผู้กระทำผิดปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมการขับขี่รถในขณะเมาสุรา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมคุมประพฤติ. “สถิติการดาเนินงาน: สถิติ พ.ร.บ. จราจรทางบก.” กรมคุมประพฤติ. http://164.115.41.115/doc_dop/show_cates.php?pid=2&cateid=9 (สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2560).
ไทยรัฐ. “ถอดบทเรียนญี่ปุ่นเพิ่มโทษเมาแล้วขับ "จา-กักขัง" แทนรอลงอาญา.” ไทยรัฐ, https://www.thairath.co.th/content/493240 (สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2560).
World Health Organization. “Global status report on road safety 2015.” World Health Organization, https://www.who.int/violence_injury_prevention/road_safety_status/2015/en/ (สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2560).