รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

กเชษฐ์ กิ่งชนะ

บทคัดย่อ

               การวิจัยเรื่องรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจังหวัดเชียงราย และ 2) ประเมินการใช้รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดเชียงราย แหล่งข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้ดูแลโครงการ ของสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดเชียงราย และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 จังหวัดเชียงราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า


               1. รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดเชียงรายประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) คุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษา 2) คุณภาพของครูผู้สอน (3) การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา 4) การนิเทศการศึกษา และ 5) การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา


              2. ผลการทดลองใช้รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดเชียงราย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานการทดลองใช้รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดเชียงราย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.28 เมื่อพิจารณาในแต่ละองค์ประกอบพบว่า องค์ประกอบที่มีความเห็นด้วยมากที่สุด คือ ด้านคุณภาพของครูผู้สอน มีค่าเฉลี่ย 4.31 รองลงมาได้แก่ ด้านการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา มีค่าเฉลี่ย 4.30 ด้านคุณภาพของผู้บริหาร มีค่าเฉลี่ย 4.29 ด้านการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชน มีค่าเฉลี่ย 4.27 และด้านการนิเทศการศึกษา มีค่าเฉลี่ย 4.25 ตามลำดับ


                3. ผลการประเมินการใช้รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดเชียงราย พบว่าโดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นต่อคุณภาพของรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดเชียงราย ในด้านความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.37 และทุกด้านมีความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ย 4.44, 4.39 และ 4.30 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในแต่ละตัวชี้วัด พบว่าผลการประเมินทุกตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากและทุกตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 3.51

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรภา สงวนสุข. “คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาลนคร เชียงใหม่”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2556.
ปรเมธี วิมลศิริ. ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี อนาคตประเทศไทย เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มกราคา 2561, จากเว็ปไซต์ http://www.plan.vru.ac.th/wcontent. [12 มีนาคม 2560].
พัทธกานต์ วัฒนาสหโยธิน. การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาและการบริหารงบประมาณภายในสถานศึกษา. [ออนไลน์], สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มกราคา 2561. จากเว็ปไซต์ http: //www.rayong.nfe.go.th.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. การนิเทศการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. สงขลา: บริษัท นาศิลป์โฆษณา, 2557
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544, กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์, 2544
สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552–2561). กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จากัด, 2552
สุมนา พุ่มประกาศ. “รูปแบบการบริหารที่มีประสิทธิภาพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน”. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2559