การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทย

Main Article Content

ชนาพร แสนสมบัติ
ศานิตย์ ศรีคุณ

บทคัดย่อ

               การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ แบบ 4 MAT เรื่องการอ่านจับใจความภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT เรื่องการอ่านจับใจความภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนพิชัยวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง จำนวน 1 ห้อง รวม 11 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT เพื่องส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ (E1 /E2) ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I) 


             ผลการศึกษาพบว่า


             1. การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพิชัยวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง พบว่า มีประสิทธิภาพ เท่ากับ81.10 /81.82 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้


              2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพิชัยวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง พบว่า มีประสิทธิผล เท่ากับ 0.64 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จากัด, 2551ก.
กุศยา แสงเดช. แบบฝึกคู่มือพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: แม็ค, 2551.
จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และบาหยัน อิ่มสาราญ. การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: พี.เพรส, 2547.
ถวัลย์ มาศจรัส. คู่มือความคิดสร้างสรรค์ในการจัดทานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ธารอักษร, 2548.
โรงเรียนพิชัยวิทยา. รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประจาปีการศึกษา 2561, 2561, อัดสาเนา.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. เอกสารประกอบการสอนวิชา 0506703 พัฒนาการเรียนการสอน. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2549.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. องค์การมหาชน. 2558-2560
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. องค์การมหาชน. รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2558-2560. กรุงเทพมหานคร: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (องค์การมหาชน). เอกสาร.
สมศักดิ์ ศรีมารักษ์. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการอ่านคิดวิเคราะห์โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 2554
สิริวรรณ ตะรุสานนท์. “การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 ที่เรียนวิชาสังคมศึกษา โดยการจัดกิจกรรมการสอนแบบ4 MAT กับจัดกิจกรรมการสอนแบบวิธีการทางวิทยาศาสตร์”. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2542.
เสมอใจ จงเจริญคุณวุฒิ. “การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสนใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3 ที่ได้รับการสอนแบบ 4 MAT กับการสอนแบบปกติ”. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2545.
อมรรัตน์ มุสิกะโรจน์. การใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม จังหวัดสงขลามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี, 2557
Bernice Mccarty. What 4 MAT Training Teachers Us about Staff Development. Dissertation Abstracts International, 1985.