การศึกษาไทย 4.0 ในบริบทของผู้บริหารสถานศึกษา

Main Article Content

สุวิมล มธุรส
กิตติ รัตนราษี
อนันต์ อุปสอด

บทคัดย่อ

               บทความเรื่องการศึกษาไทย 4.0 ในบริบทของผู้บริหารสถานศึกษา มีเป้าหมายเพื่อวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติตนของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคที่การศึกษามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้เนื่องจากผู้บริหารสถานศึกษาถือได้ว่าเป็นกลไกสาคัญและเป็นตัวแปรสาคัญในด้านการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและมีอิทธิพลต่อคุณภาพของผลลัพธ์ที่เกิดจากการบริหาร ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคใหม่จะต้องมีคุณลักษณะที่โดดเด่นเหมาะสม มีความรู้เชิงทฤษฎี ทักษะ บทบาทหน้าที่ คุณธรรมและประสบการณ์ทางการบริหารการศึกษายุคใหม่ เพื่อนาพาสถานศึกษาให้ประสบผลสาเร็จ สามารถตอบสนองต่อการแข่งขัน และมีความทันสมัยต่อโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยพบว่า ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่สามารถพยากรณ์การพัฒนานักเรียนสู่คนไทย 4.0 มี 3 ทักษะ ได้แก่ 1) ทักษะการบริหารแบบหวังผลสัมฤทธิ์ 2) ทักษะด้านคุณธรรมจริยธรรม และ 3) ทักษะด้านภาษาการสื่อสารและการปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมต่างชาติ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่จะต้องมีบทบาทที่สาคัญได้แก่ บทบาทในฐานะผู้นา บทบาทในฐานะผู้รักษาระเบียบวินัยของผู้เรียน บทบาทในฐานะผู้ประเมิน บทบาทในการทบทวนนโยบายและกระบวนการภายใน บทบาทในการกาหนดตาราง บทบาทในการจ้างผู้สอนใหม่ บทบาทในการปกครองและชุมชนสัมพันธ์ และบทบาทในการมอบหมายงาน โดยบทบาทดังกล่าวถือได้ว่าเป็นแบบแผนพฤติกรรมที่แสดงออกตามตาแหน่งหน้าที่ ซึ่งเป็นไปตามความคาดหวังของสังคมและเป็นไปเพื่อให้การบริหารสถานศึกษาบรรลุเป้าหมายตามตาแหน่งที่ดารงอยู่

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ชัยยันต์ เพาพานใ ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. 2559. จากเว็ปไซต์ http://conference.edu.ksu.ac.th/file/20160809_2488101126.pdf.
ดารุณี บุญครอง. วิเคราะห์แนวทางการจัดการศึกษาไทยกับการขับเคลื่อนการศึกษาสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0. 2560. จากเว็ปไซต์ https://tci-thaijo.org/index.php/cjwu/article/ view/109180/85971.
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. การศึกษาไทยในยุค Thailand 4.0 เป็นอย่างไร. 2561, จากเว็ปไซต์ http://krooupdate.com/?p=4308.
ประกอบ คุปรัตน์. ผู้บริหารสถานศึกษาชื่อและความหมาย. 2552, จากเว็ปไซต์ http://pracob.blogspot.com/2009/11/blog-post_1389.html .
โพยม จันทร์น้อย. การศึกษาไทย 4.0. ม.ป.ป., จากเว็ปไซต์ http://www.birdkm.com/outside-classroom/outsideclass/thai-education-40.
สานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 /ตอนที่ 52 ก.: 11 มิถุนายน 2546. หน้า 1.
สุวิทย์ เมษินทรีย์. แนวทางนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จะเกิดขึ้นได้ประชาชนต้องเป็นคน 4.0, 2560, จากเว็ปไซต์ http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=6722&filename=index.
อาคม มากมีทรัพย์. จริยธรรมผู้บริหาร. สุทธิปริทัศน์, 28(87), 2557. pp.304 – 322.
อานาจ วัดจินดา. การบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Results Based Management - RBM). 2551. จากเว็ปไซต์ http://www.hrcenter.co.th/HRKnowView.asp?id=643&mode=disp.
Derick Meado. The Role of the Principal in Schools, 2016, Retrieved from http://teaching.about.com/od/admin/tp/Role-Of-The-Principal.htm.
Kim, Y. Y. Adapting to a new culture. In L. Samovar & R. Porter (RE.Eds.), Intercultural communication: A reader. California: Wadsworth. 1994.