การสร้างรูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นครูไทยพันธุ์ใหม่ รักษ์สิ่งแวดล้อม ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มรัตนโกสินทร์

Main Article Content

สมหมาย ปวะบุตร

บทคัดย่อ

               เพื่อให้นักศึกษามีจิตสานึกปกป้อง ดูแล รักษา ใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างรู้คุณค่า วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นครูไทยพันธุ์ใหม่ด้านรักษ์สิ่งแวดล้อม ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยกลุ่มรัตนโกสินทร์ แผนการวิจัยแบบ Randomized Control Group Pretest- Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสมมติฐาน คือ t-test for Dependent Sample และ t-test for Independent Sample ในรูป Difference Scores
               ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่ได้รับรูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นครูไทยพันธุ์ใหม่ด้านรักษ์สิ่งแวดล้อม ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยกลุ่มรัตนโกสินทร์ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7) กรุงเทพมหานคร: สานักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2543.
สุวัฒน์ นิยมไทย. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาชีพแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐานในสถานประกอบการเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานและการแก้ปัญหาสาหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพช่างอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2553.
Hargis, J. Collaboration, Community and Project-Based Learning - Does It Still Work Online?. Instructional Media, 32(2). 2005.