การประเมินผลนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ: กรณีศึกษาเขตลาดกระบัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงสภาพการดาเนินงาน ปัญหา ผลการดาเนินนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในเขตลาดพระบัง เพื่อนาข้อมูลที่ได้จากการวิจัยไปใช้ในการพัฒนา วางแผน ปรับปรุงและกาหนดนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพต่อไป การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ โดยทาการศึกษาความคิดเห็นของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในเขตลาดกระบังโดยการประเมินนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ใน 3 ด้านได้แก่ ด้านเนื้อหาของนโยบาย ด้านกระบวนการ และ ด้านผลลัพธ์
ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนในเขตลาดกระบังมีความเห็นต่อนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก ส่วนคุณสมบัติส่วนบุคคลของประชาชนในเขตลาดกระบังที่มีผลต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐนั้นพบว่า เพศที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทุกด้านไม่แตกต่างกัน อายุที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐด้านเนื้อหาและด้านกระบวนการแตกต่างกัน ขณะที่มีความคิดเห็นต่อนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐด้านผลลัพธ์ ไม่แตกต่างกัน อาชีพที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทุกด้านแตกต่างกัน รายได้ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐด้านเนื้อหาและด้านกระบวนการไม่แตกต่างกัน ขณะที่มีความคิดเห็นต่อนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐด้านผลลัพธ์แตกต่างกัน ระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐด้านเนื้อหาและด้านกระบวนการไม่แตกต่างกัน ขณะที่มี ความคิดเห็นต่อนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐด้านผลลัพธ์แตกต่างกัน ส่วนด้านประเภทของการใช้บัตร ที่แตกต่างกัน มีผลต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ด้านเนื้อหา รัฐบาลควรประชาสัมพันธ์ สนับสนุนให้ร้านค้าในชุมชนเข้าร่วมโครงการกันมากขึ้น และในส่วนของสวัสดิการในบัตรซึ่งมีความแตกต่างกันระหว่างผู้ถือบัตรที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กับผู้ถือบัตรที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอื่นนั้น ควรมีการชดเชยให้แก่ผู้ถือบัตรในต่างจังหวัดได้รับประโยชน์ในรูปแบบอื่นแทน เช่น ได้รับสัดส่วนในเรื่อง ค่าเดินทางที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น ด้านกระบวนการ ควรเปิดรับสมัครผู้มีรายได้น้อยเข้าร่วมโครงการอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้นโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ทั่วถึง คลอบคลุมผู้มีรายได้น้อยที่ยังไม่ได้สมัครเข้าร่วมโครงการมากขึ้น ด้านผลลัพธ์ รัฐบาลต่อไปควรสานต่อนโยบายนี้ เนื่องจากเป็นนโยบายที่บรรเทาความเดือดร้อนด้านการ ครองชีพของประชาชน
Article Details
References
กุลลินี มุทธากลิน, การศึกษาเศรษฐศาสตร์ของไทยท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2559.
ดุจฤดี คงสุวรรณ์, การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคเหนือ. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2561 [ออนไลน์], จาก https://www.baanjomyut.com/library2/,development_of_society/29.html.
วิชสีณี วิบุลผลประเสริฐ และภวินทร์ เตวียนันท์. ถอดบทเรียนนโยบายไฟฟ้าฟรี สู่โครงการประชารัฐสวัสดิการ.สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2561 [ออนไลน์],https://thaipublica.org/2017/10/pier31/.
สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้าในประเทศไทย ปี 2560. กรุงเทพมหานคร : สานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2561. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรผู้มีรายได้น้อย). สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2561 (ออนไลน์), จากhttp://nidapoll.nida.ac.th/index.php?op=polls-detail&id=558.