การพึ่งตนเองของนักเรียนการศึกษานอกระบบในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

จิราพร เซ็นหอม และคณะ

บทคัดย่อ

                การพึ่งตนเองของนักเรียนการศึกษานอกระบบในกรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาให้ผู้ที่พลาดโอกาสเรียนจากระบบการศึกษาภาคปกติ ได้รับการเรียนรู้ โดยเน้นการเพิ่มศักยภาพของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตได้อย่างแท้จริง เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ที่กว้างขวาง ส่งเสริมให้มีการพัฒนาการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาตามความสามารถของตนเองและยังส่งผลให้ประเทศมีศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาโดยรวมเพิ่มสูงขึ้น ปัจจัยเชิงสาเหตุของการพึ่งตนเองของนักเรียนการศึกษานอกระบบในกรุงเทพมหานคร ประกอบไปด้วย 2 ด้าน ได้แก่ ด้านแรกคือปัจจัยด้านสถานการณ์กับการพึ่งตนเองของนักเรียน ประกอบไปด้วย (1) การสนับสนุนจากครอบครัวและโรงเรียน (2) การมีตัวแบบที่ดีจากผู้ใกล้ชิด (3) การรับอิทธิพลจากสื่อ online (4) บรรยากาศ วัฒนธรรมของสถานศึกษา และ (5) การบริหารจัดการของสถานศึกษาที่เอื้อต่อการพึ่งตนเอง และด้านที่ 2 คือ ปัจจัยด้านจิตลักษณะกับการพึ่งตนเองของนักเรียน ประกอบไปด้วย 1)แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 2) การมุ่งอนาคตและควบคุมตน การมุ่งอนาคตควบคุมตน 3) การเชื่ออานาจในตนต่อการพึ่งตนเองกับการพึ่งตนเองของนักเรียน 4) ทัศนคติต่อการพึ่งตนเอง และ 5) ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพึ่งตนเอง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579.
กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ. 2560
กรมสามัญศึกษา. การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา เล่มที่ 2 การปลูกฝังและเสริมสร้างค่านิยมในการพึ่งตนเอง. กรุงเทพมหานคร : หน่วยศึกษานิเทศก์, 2529.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม:การวิจัยและการพัฒนาบุคคล.กรุงเทพมหานคร: โครงการส่งเสริมเอกสารวิชาการ. สถาบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. 2538.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. รูปแบบปฏิสัมพันธ์นิยม (Interactionism Model) เพื่อการวิจัยสาเหตุของพฤติกรรม และการพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์. ทันตาภิบาล,10 (2), 2541 หน้า 105-108.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม : การวิจัยและการพัฒนาบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2543.
บุญทัน ดอกไธสง. การจัดการองค์การ. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. 2535.
ประไพ สมปราชญานันท์. ผลของการใช้สถานการณ์จาลองที่มีต่อการพึ่งตนเองด้านการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร, สารนิพนธ์ (กศ.ม. (จิตวิทยาการศึกษา) - มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2545.
รงค์ ประพันธ์พงศ์. เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่. กรุงเทพมหานคร : สถาพรบุ๊คส์, 2550
ราชกิจานุเบกษา. การมาตรฐานแห่งชาติ 2551 เล่มที่ 125 ตอนที่ 42 ก. 4 มีนาคม 2551. หน้า 2–4.
อ้อมเดือน สดมณี และคณะ, การศึกษาการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคล : กรณีศึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา ปีที่ 2 ฉบับที่ 1. 2553.
Innocent Sanga, Education for Self Reliance: Nyerere’s Policy Recommendations in the Context of Tanzania. African Research Journal of Education and Social Sciences, Vol. 3, No. 2, 2016.