การพัฒนากิจกรรมการเรียนโดยประยุกต์หลัก สุ จิ ปุ ลิ วิชาเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดพนัญเชิง (ไตรรัตนนายก) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้หลัก สุ จิ ปุ ลิ วิชาเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดพนัญเชิง (ไตรรัตนนายก) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การพัฒนากิจกรรมการเรียนโดยประยุกต์หลัก สุ จิ ปุ ลิ วิชาเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดพนัญเชิง (ไตรรัตนนายก) จังหวัดพระนครศรีอยุธยาก่อนเรียน และหลังเรียน ดาเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งศึกษากับประชากรที่เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดพนัญเชิง (ไตรรัตนนายก) จานวน 27 คน
ผลการศึกษา พบว่า 1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้หลัก สุ จิ ปุ ลิ วิชาเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดพนัญเชิง (ไตรรัตนนายก) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า ผลการทดลองทั้งก่อนและหลังมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ผลหลังจากการทดลอง นักเรียนมีสมาธิในการฟังมากขึ้น หลังจากเล่านิทานเสร็จ จึงได้แจกแบบสอบถามหลังการเรียนให้ทาอีกครั้งหนึ่ง ผลสรุปได้ว่า นักเรียนทุกกลุ่ม สามารถทาแบบสอบถามได้ทุกคน คะแนนเฉลี่ย 10–15 คะแนน ในคะแนนเต็ม 15 คะแนน ส่งผลให้การทดลองทุกด้าน เกิดประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
2. ผลสัมฤทธิ์การพัฒนากิจกรรมการเรียนโดยประยุกต์หลัก สุ จิ ปุ ลิ วิชาเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดพนัญเชิง (ไตรรัตนนายก) จังหวัดพระนครศรีอยุธยาก่อนเรียน และหลังเรียน พบว่า นักเรียนกลุ่ม สุ การฟัง สามารถทาคะแนนหลังจากการเรียนรู้แล้ว เฉลี่ยได้เกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานสูงที่สุด คือ 85.53 % รองลงมาคือ นักเรียนกลุ่ม ลิ การเขียน สามารถทาคะแนนเฉลี่ยที่ 82.20 % อันดับที่ 3 คือ นักเรียนกลุ่ม ปุ การถาม สามารถทาคะแนนเฉลี่ยที่ 77.73 % อันดับที่ 4 คือ นักเรียนกลุ่ม จิ การคิด สามารถทาคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 73.33 % ซึ่งนักเรียนกลุ่ม ปุ การถาม และกลุ่ม จิ การคิด ทาคะแนนได้ต่ากว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ผู้วิจัยตั้งไว้ทั้งสองกลุ่ม
Article Details
References
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). ปรัชญาการศึกษาของไทย ภาคพุทธธรรม: แกนนาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ผลิธัมม์, 2556.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น, 2542.
ณกมล ชาวปลายนา. “การศึกษาทั่วไปเพื่อการสร้างสรรค์ความเป็นไทยในศตวรรษที่ 21: กระบวนทัศน์ในพุทธสาส์นว่าด้วยสารัตถแห่งจินตนโกศล (ปรีชาญาณเชิงความคิด) ทฤษฎีการ สร้างทักษะความคิดแบบโยนิโสมนสิการ”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาทั่วไป. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2544.
ทินรัตน์ กาญจนกุญชร. “ผลของการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง แคลคูลัสเบื้องต้น โดยใช้หลัก “สุ จิ ปุ ลิ” ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะ/กระบวนการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนเตรียมทหาร”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชามัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2550.
บุญช่วย สังข์ศิริ. “การพัฒนาความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนโดยใช้นิทานธรรมะเป็นสื่อการสอนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดเทียนถวาย จังหวัดปทุมธานี”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาสังคมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549.
พระเจตน์สฤษฎ์ อินทร์จันทร์. “ผลการเรียนแบบอีเลิร์นนิงด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ สุ จิ ปุ ลิ ที่มีต่อความสามารถในการเรียนของนักเรียนนักธรรมชั้นโท”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554.
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.rajini.ac.th/group/social/main.html. 12 กรกฎาคม 2560.
สมเกียรติ แสงอรุณเฉลิมสุข, วิธีการเรียน, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://ftt..spu.ac.th/ hum111/main1_/lesson4_files/way%of%20study.stm, 14 กรกฎาคม 2560.
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544/การจัดการเรียนรู้, [ออนไลน์], แหล่งข้อมูล: https://th.wikisource.org/wiki/หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน_พุทธศักราช_25/การจัดการเรียนรู้,14 กรกฎาคม 2560.
โคลงโลกนิติ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.dek-d.com/board/view/2424378/. 12 กรกฎาคม 2560.