การศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ที่ตอบสนองต่อชุมชนและสืบทอดบุคลากรทางพุทธศาสนา

Main Article Content

พระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทฺโธ และคณะ

บทคัดย่อ

              งานวิจัยการศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ที่ตอบสนองต่อชุมชนและสืบทอดบุคลากรทางพุทธศาสนา มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาของโรงเรียนปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาที่สามารถจัดการศึกษาตอบสนองต่อชุมชนและพระพุทธศาสนาได้อย่างมีประสิทธิผล และ (2) เพื่อศึกษาเงื่อนไขข้อกาจัดในการจัดการศึกษาให้กับนักเรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
              การศึกษาครั้งนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพถอดบทเรียนการดาเนินงานโรงเรียนปริยัติสารคุณ จานวน 4 แห่ง ประกอบไปด้วย โรงเรียนพระปริยัติธรรมบาลีสาธิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ โรงเรียนปริยัติธรรมวัดกองลม ต.เมืองแหง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ โรงเรียนปริยัติธรรมวัดหนองบัว ต.เจดีย์ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย และ โรงเรียนดอยสะเก็ดผดุงศาสตร์ ต.เชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่แล้วมาวิเคราะห์ข้อมูลมีผลการวิจัยดังนี้
              1. รูปแบบการเรียนการสอน พบว่า มีการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง บูรณาการหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการร่วมกับหลักสูตรทางพุทธศาสนา โดยให้นักเรียนมีการกระบวนการปฏิบัติการจริงในชุมชน ใช้สื่อท้องถิ่นในการเรียนรู้ สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนทั้งส่วนที่เป็นภูมิปัญญาและเป็นฐานระดมทรัพยากร
              2. เป้าหมายของการจัดการศึกษา พบว่าโรงเรียนปริยัติธรรมทั้ง 4 แห่งมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเป็นคนดี อยู่ในศีลคุณธรรม มากกว่าการแข่งขันทางวิชาการ เพราะนักเรียนที่เข้าบวชเรียนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน มีปัญหาทางครอบครัว บางรูปไม่สามารรถอ่านออกเขียนได้ จึงทาให้มีการจัดการศึกษาตามลักษณะของเด็ก เน้นการสามารถช่วยตนเองและอยู่ในสังคม และพุทธศาสนาได้


              3. การระดมทุนและทรัพยากรเพื่อจัดการศึกษา พบว่า แต่ละโรงเรียนแต่ละแห่งต่างมีแนวทางการระดมทุนจากข้างนอกในลักษณะของการบริจาค จัดโครงการหรือกิจกรรมตามวันสาคัญทางพุทธศาสนา เช่น จัดโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน จัดผ้าป่าสามัคคีจากศิษย์เก่า นอกจากนี้ยังพบว่า ชุมชนที่อยู่รอบบริเวณวัดยังมีส่วนสาคัญในการสนับสนุนทุนและทรัพยากรทางการศึกษา เช่น สนับสนุนข้าปลา อาหาร ครูสอน เป็นต้น
              4. ปัจจัยสาคัญที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาในโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญ พบว่า มี 4 ประการ กล่าวคือ (1) วิสัยทัศน์ของผู้บริหารต่อการจัดการศึกษา (2) งบประมาณสนับสนุนการจัดการศึกษา ซึ่งนับได้ว่ายังไม่เพียงพอต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา (3) สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการศึกษา (4) ครูและบุคคลลากรที่ทาหน้าที่ในการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน ปัจจัยทั้ง 4 ประการที่กล่าวนั้น ถือว่ามีส่วนสาคัญทาให้การจัดการศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มาณพ พลไพรินทร์. หลักการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา, 2535.
สานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.คู่มือการปฏิบัติงาน การขออนุญาตจัดตั้งและขยายชั้นเรียน โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2555.
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. แนวทางการกระจายอานาจกรบริหารและ การจัดการการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จากัด, 2550.
พระสมบูรณ์ วิลา. ปัญหาการปฏิบัติงานของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ จังหวัดนครพนม, ค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2544.
พระสาย แวงคา. ปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 9. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2544.